ฝ้าเลือด หนึ่งในปัญหาใบหน้าที่รักษาได้ยาก มีลักษณะอย่างไร?
ฝ้ากระ จุดด่างดํา ปัญหาใหญ่รบกวนใจใครหลาย ๆ คนจนกลายเป็นเรื่องกลุ้มใจทำให้ไม่ยากออกไปพบปะเจอใคร เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งเพิ่มโอกาสมีปัญหา ฝ้าบนใบหน้า มากขึ้น ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับผิวหน้าของผู้หญิงและผู้ชาย และอย่างไรก็ตามการเกิด ฝ้าบนใบหน้า ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มคนที่อายุเพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่อยู่วัยเรียนหรือวัยทำงานได้อีกด้วย นอกจากจะสร้างความยุ่งยากในการใช้ชีวิตแล้ว ฝ้าบนใบหน้า หลายชนิดก็ยังจัดการได้ยากอีกด้วย และหนึ่งในปัญหาผิวที่แก้ไขได้ค่อนข้างยาก ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน นั่นคือ “ฝ้าเลือด” มีหลายคนที่ประสบกับปัญหา ฝ้าเลือด ลองรักษามาหลากหลายวิธี ซึ่งบางวิธีก็อาจจะเกิดจากการรักษาไม่ตรงจุด หรือไม่เหมาะสมกับสาเหตุที่แท้จริงของ ฝ้าเลือด ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่น่าพึงพอใจและยังคงต้องเผชิญปัญหา ฝ้าเลือด ต่อไป ถ้าอย่างนั้นมาทำความรู้จักกับฝ้าชนิดนี้ให้มากขึ้น เพื่อจะได้รู้ข้อมูลเชิงลึก และรู้เท่าทันถึงที่มาที่ไปในการเกิดฝ้า พร้อมแนวทางในการดูแลและป้องกันผิวหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
ฝ้าเลือด คืออะไร? มีลักษณะอย่างไร?
ฝ้าเลือด จัดเป็นหนึ่งในฝ้าที่รักษาได้ยากมากกว่า ฝ้ากระ จุดด่างดํา ทั่ว ๆ ไป หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า Vascular Melasma หรือ Telangiectatic Melasma เป็นฝ้าที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนผิวหน้า อันเนื่องมาจากผิวหนังรับรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากแสงแดดเป็นเวลานาน เส้นเลือดฝอยในชั้นหนังแท้จึงเพิ่มจำนวนขึ้นหรือเสื่อมสภาพ ทำให้เห็นเส้นเลือดฝอยแตกแขนงเป็นกระจุกบนผิวหน้า และอาจเกิดจากผลของการใช้เครื่องสำอาง หรือยา ที่มีส่วนผสมของเสตียรอยด์ ทำให้เส้นเลือดฝอยบนใบหน้าแตก และมีเลือดกระจุกบริเวณพังผืดใต้ผิวหนังชั้นลึก
แล้วเราจะสังเกตฝ้าชนิดนี้ได้อย่างไร? เนื่องจากเป็นฝ้าเกิดจากความผิดปกติองเส้นเลือดฝอยบริเวณใบหน้า เมื่อได้รับสิ่งกระตุ้นทำให้เส้นเลือดฝอยในชั้นผิวหนังแท้เพิ่มจำนวนและเสื่อมสภาพมากขึ้น ลักษณะของ ฝ้าเลือด จึงมักจะปรากฏเป็นปื้นสีแดง ๆ เห็นเป็นรอยเส้นเลือดฝอยแตกแขนงเล็ก ๆ หรือเป็นกระจุกบริเวณผิวหน้า ลักษณะเป็นสีชมพู น้ำตาลแดง ไปจนถึงสีคล้ำ
รู้จักกับสาเหตุของการเกิด ฝ้าเลือด
เรามาดูกันว่าสาเหตุหลักอื่น ๆ ที่อาจทำให้ผิวหน้าเสี่ยงต่อการเกิด ฝ้าเลือด มาจากอะไรได้บ้าง…
- เกิดขึ้นจากการโดนแสงแดดจัดสะสมเป็นเวลานาน เมื่อผิวได้รับแสงแดดสะสมเป็นระยะเวลานานจะทำให้เซลล์ผิวบริเวณนั้นเสื่อมสภาพลง ทำให้ผิวบางลง ร่วมกับแสงแดดที่จะไปทำการกระตุ้นเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหน้าขยายตัวและเพิ่มจำนวนมากขึ้น และมีสีที่เข้มขึ้นได้ โดยบริเวณที่พบได้มากที่สุดคือ บริเวณโหนกแก้มและสันจมูก ซึ่งเป็นจุดที่โดนแสงแดดง่ายกว่าบริเวณอื่น ๆ นั่นเอง
- ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางประเภทที่มีสารอันตราย หรือสารเร่งผิวขาวเป็นส่วนประกอบ เช่น ไฮโดรควิโนน, ปรอท, หรือสเตียรอยด์ เป็นต้น หากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็จะทำให้ผิวบาง เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังจะขยายตัวมากขึ้นจนเกิดเป็นฝ้า
- ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะในคนที่มีฮอร์โมนเพศหญิงสูง ทำให้ผู้หญิงมักมีปัญหา ฝ้าเลือดมากกว่าผู้ชาย หรืออาจมาจากการใช้ยาคุมกำเนิด หรือแม้กระทั่งในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ซึ่งมักพบว่าเมื่อคลอดบุตรแล้ว ฝ้าเลือด ค่อย ๆ จางลงได้เอง
- ฝ้าเลือดจะคล้ำขึ้นจากฝ้าชนิดอื่น ๆ ด้วยกันเอง เนื่องจากเมื่อเป็น ฝ้าบนใบหน้า จะทำให้เส้นเลือดฝอยใช้ชั้นผิวหนังทำงานผิดปกติ โดยเส้นเลือดฝอยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นนี้สามารถกระตุ้นเซลล์เม็ดสีผิวให้ผลิตเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้นได้
ฝ้าเลือด มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับผิวหน้าของใครได้บ้าง?
ส่วนใหญ่แล้ว ฝ้าเลือด สามารถพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากเป็นฝ้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นหลัก พบได้ตั้งแต่ช่วงอายุ 20 – 50 ปีขึ้นไป ซึ่งคนที่เป็นส่วนใหญ่และเห็นได้ชัดเจนมากที่สุด จะเป็นบุคคลที่มีผิวบอบบางและค่อนข้างไวต่อแสง หมายความว่า ผิวหน้าเกิดอาการแดงง่ายเมื่อถูกความร้อนจากแสงแดด เนื่องจากผิวมีความบอบบาง จนถูกกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย นอกจากนี้ยังอาจเกิดขึ้นได้ง่ายกับผู้ที่มีฮอร์โมนไม่ค่อยปกติ ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงง่าย หรือต้องใช้ยาอื่น ๆ ในการรักษาร่างกาย ทำให้เกิดผลข้างเคียงตามมาเป็นปัญหา ฝ้ากระ จุดด่างดํา ชนิดต่าง ๆ
เทคนิคดูแลและปกป้องผิวหน้าไม่ให้เป็น ฝ้าเลือด
สำหรับในส่วนของแนวทางการดูแลปกป้องผิวหน้าจาก ฝ้าเลือด ต้องเริ่มจากดูแลตัวเอง หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดฝ้า รวมถึงเมื่อเกิดปัญหา ฝ้าเลือด ก็ควรการเข้ารับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง ไม่รักษาเองโดยขาดความรู้ความเข้าใจเพราะอาจทำให้ปัญหาลุกลามจนยากต่อการแก้ไข โดยมีวิธีปกป้องผิวดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด และควรทากันแดดในปริมาณที่แนะนำให้ใช้สำหรับใบหน้า และเพิ่มปริมาณเป็น 2 นิ้วมือ สำหรับทาใบหน้าและลำคอ โดยทาก่อนออกแดดประมาณ 30 นาที และทาซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง
- หากต้องออกกลางแจ้ง ควรสวมหมวกปีกกว้าง หรือกางร่มกันแสงยูวี เพื่อป้องกันแสงแดดที่อาจทำร้ายผิว ทำให้เกิดฝ้า หน้าเป็น ฝ้ากระ จุดด่างดำ
- งดการใช้ครีมหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ไม่ได้รับมาตรฐานหรือมีส่วนผสมของสารอันตรายอย่างไฮโดรควิโดน ปรอทและสารสเตียรอยด์
- เลือกครีมรักษาฝ้าที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ อ่อนโยนกับต่อผิวบอบบางแพ้ง่าย หรือเลือกครีมที่คิดค้นและผลิตโดยแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนัง
- ดูแลสุขภาพร่างกายโดยรวม ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อให้ระดับของฮอร์โมนมีความสมดุล
- หากมีปัญหา ฝ้าแดด หรือฝ้าเรื้อรังที่รักษามาหลายวิธีแล้วก็ยังไม่หาย แนะนำให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังอย่างเช่นที่ Chuladoctor Clinic ที่มีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผิวหนังโดยเฉพาะ มีการใช้นวัตกรรม SMAPS เทคนิคการรักษาฝ้า ของ Chuladoctor Clinic ในการดูแลปัญหาเรื่องฝ้า เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ ช่วยเรียกความมั่นใจกลับคืนสู่ผิวหน้าอีกครั้ง
สรุป
ฝ้าเลือด แม้จะได้ชื่อว่าเป็นปัญหาผิวที่ทำการรักษาได้ยาก แต่ก็ใช่ว่าจะรักษาไม่หายหรือไม่จางลง เพียงแต่ต้องรู้จักกับสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดฝ้าชนิดนั้น ๆ รวมถึงวิธีดูแลและป้องกันผิวหน้าจากสาเหตุเหล่านั้น ไปจนถึงแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละสภาพผิวของแต่ละบุคคล เนื่องจากฝ้านั้นเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่จำเป็นต้องมาจากแสงแดดแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ดังนั้นหากไม่มั่นใจว่าฝ้าที่เป็นอยู่ใช่ ฝ้าเลือด หรือไม่ ทางที่ดีคือควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังที่ความรู้ความชำนาญเรื่องฝ้า ก่อนที่ฝ้าที่เป็นจะลุกลามกลายเป็นปัญหาผิวที่รุนแรงจนยากต่อการแก้ไข
บทความนี้เขียนโดย แพทย์หญิงธนิดา วรวิวัชร์ (หมอใบเฟิน) แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้ง Chuladoctor Clinic เแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย, การปรับรูปหน้าและเทคนิค SMAPS ขั้นสูง