โทร: 096-187-5888เพื่อรับสิทธิ รักษาฝ้าฟรี 1 ครั้ง

รู้จัก “กระแดด” ปัญหาจุดด่างดำบนผิวหน้าที่ทุกคนมีโอกาสเจอ

Share

สารบัญ

รู้จัก “กระแดด” ปัญหาจุดด่างดำบนผิวหน้าจากแสงแดดที่ทุกคนมีโอกาสเจอ

กระแดด จุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ ที่มักกระจัดกระจายอยู่ทั่วบนบริเวณใบหน้าเคยเป็น 1 ในเทรนด์บิวตี้แฟชั่นสุดฮิตของสาว ๆ ทั่วโลกอยู่ช่วงหนึ่ง จนถึงกับมีฟิลเตอร์ในแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดียให้ได้ลองเติมกระบนใบหน้าอวดลุคใส ๆ เหมือนมีกระแบบสาวฝั่งยุโรปที่มักจะเกิดมาพร้อมกระบนใบหน้าตั้งแต่เกิด ไปจนถึงเทรนด์แต่งหน้ามาแรง โดยการแต่งแต้มกระเป็นจุดเล็ก ๆ ลงบนใบหน้า หรือเรียกว่าการแต้มกระปลอม (Fake Freckles) แต่ในความเป็นจริงแล้วจะมีสักกี่คนที่มั่นใจกับการมี กระแดด เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิด กระแดดที่หน้า ของตัวเองจนต้องคอยกลบเกลื่อนอยู่เสมอ ซึ่งจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ ร่องรอยชัดเจนกระจายอยู่ทั่วใบหน้าจำนวนมากเหล่านี้นับเป็น 1 ในปัญหาผิวที่มักพบเจอได้บ่อย ๆ บนใบหน้าของสาวไทย โดยเฉพาะสาว ๆ ที่ใช้ชีวิตอยู่กลางแจ้งหรือเจอแสงแดดสะสมต่อเนื่องมาเป็นเวลานานซึ่งมักจะเกิด กระแดดที่หน้า ได้ค่อนข้างง่ายเมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น

กระแดด1ในปัญหาผิวที่มักพบเจอได้บ่อยๆบนใบหน้าของสาวไทย

นอกจากนี้ กระแดด ยังมีปัจจัยในการเกิดอีกหลายสาเหตุ และยังมีกระอีกหลายประเภท ตามไปดูข้อมูลเรื่องของ กระแดด รวมถึงความรู้เกี่ยวกับกระเพิ่มเติมกัน

กระ และ กระแดด เกิดจากอะไร? สังเกตได้อย่างไรบ้าง?

ก่อนที่เราจะแก้ไขปัญหาเรื่อง กระแดดที่หน้า เราไปทำความรู้จักกับ “กระ” ในเบื้องต้นกันก่อน สำหรับ “กระ” คือ จุดผิวเรียบที่เกิดขึ้นบนผิวหนัง เป็นลักษณะจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ มักพบได้บ่อยบริเวณบนใบหน้า จมูก โหนกแก้ม หรือตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ลำคอ ต้นแขน ต้นขา มีได้ตั้งแต่สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม โดย “กระ” เกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีเมลานินที่สร้างเซลล์เม็ดสีมากจนเกินไป นับเป็นหนึ่งในปัญหาผิวที่แม้จะไม่อันตรายต่อสุขภาพร่างกาย แต่อาจส่งผลต่อความมั่นใจและจิตใจได้ ทำให้รู้สึกว่าเป็นจุดรบกวนสายตา เวลาแต่งหน้าก็อาจจะต้องเสียเวลากลบให้มิดชิด หรือทำให้ใบหน้าดูมีอายุมากกว่าที่เป็น ซึ่งหลายคนอาจสับสนระหว่าง “กระ” กับ “ฝ้า” เนื่องจากมีลักษณะคล้าย ๆ กัน และมักเจอบนใบหน้าเหมือนกัน แนะนำให้หาข้อมูลเพิ่มเติม เจาะลึกเรื่อง “ฝ้า” บนใบหน้า วายร้ายทำลายความมั่นใจ เกิดจากอะไรได้บ้าง? เพื่อจะได้สามารถแยกออกได้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนใบหน้าของเราเป็น “กระ” หรือเป็น “ฝ้า” กันแน่

กระและกระแดดเกิดจากอะไรสังเกตได้อย่างไรบ้าง

ในส่วนของปัจจัยหลัก ๆ ของการเกิด “กระ” นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายหลายปัจจัย อายุ แสงแดด และพันธุกรรมโดยจะขึ้นมากน้อยแล้วแต่เชื้อชาติ หรือกรรมพันธุ์ของแต่ละคน และร่องรอยของ “กระ” จะเด่นชัดในคนที่มีสีผิวโทนขาว หรือคนที่มีภูมิหลังทางชาติพันธุ์ผสม

“กระ” มักพบในคนที่มีเชื้อชาติทางตะวันตกมากกว่าตะวันออก พบได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ และอาจมีขนาดและรูปร่างเปลี่ยนแปลงโดยขยายและคล้ำขึ้น ในบางคน “กระ” อาจมีขนาดใหญ่จนมองเผิน ๆ แล้วดูคล้ายมีปานติดอยู่บนผิวหนังจนทำให้สูญเสียความมั่นใจไปนั่นเอง

กระแดด เมื่อเป็นแล้วอันตรายหรือไม่?

กระแดด (Solar lentigines) คือรอยสีน้ำตาลที่มีลักษณะเป็นปื้นสีน้ำตาล หรือมีลักษณะเป็นจุดกลม ๆ คล้ายหมึกหยดลงบนผิวหนังซึ่งมักจะไม่นูนขึ้นมาแต่จะราบเรียบไปกับผิวหนัง ส่วนใหญ่มักมีขนาดไม่เกิน 0.3 – 2 เซนติเมตร มีขอบชัดกว่ากระอื่น ๆ มักขึ้นอยู่บริเวณใบหน้า หรือบริเวณอื่น ๆ ของร่างกายที่โดนแสงแดดบ่อย ๆ เช่น บริเวณใบหน้า อาจจะเป็นโหนกแก้มที่รับแสงแดดกว่าจุดอื่น หรือ แขน ขา ที่ไม่ได้รับการทาครีมปกป้องแดด เป็นกระที่เกิดจากสาเหตุของแสงแดดเป็นหลัก ยิ่งโดนแสงแดด กระแดด ก็จะยิ่งมีสีเข้มขึ้น นอกจากนั้นยังมีฮอร์โมนเป็นตัวกระตุ้นสร้างเม็ดสีทำงานผิดปกติทำให้ปริมาณ กระแดด เพิ่มขึ้นด้วย การปล่อยทิ้งไว้ไม่สามารถทำให้ กระแดด หายเองจนหมดได้ และบางครั้งการรักษาด้วยการทายาก็อาจไม่ค่อยได้ผล ดังนั้นการรักษาจึงต้องปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการด้านผิวหนัง หรือใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างการใช้เลเซอร์ หรือการใช้เทคนิค SMAPS เป็นต้น

คนที่มีไลฟ์สไตล์หรือพฤติกรรมแบบไหนบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิด กระแดด

คนที่มีไลฟ์สไตล์หรือพฤติกรรมแบบไหนบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดกระแดด

แล้วพฤติกรรมแบบไหนบ้างที่จะทำให้ใบหน้าหรือผิวหนังบริเวณอื่น ๆ ของเราเสี่ยงต่อการเกิด กระแดด ได้บ้าง เพื่อจะได้หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงไม่ให้ หน้าเป็นกระแดด ตามไปดูกัน

  • คนที่ออกแดด หรือใช้เวลาทำกิจกรรมกลางแจ้งท่ามกลางแสงแดดแรง ๆ เป็นเวลานานและสะสมต่อเนื่อง
  • คนที่เคยได้รับแสงอาทิตย์เทียมเพื่อรักษาโรคอื่น ๆ เช่น ฉายแสงยูวีเอ เพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น
  • คนที่ผิวขาวหรือค่อนข้างขาว และยังพบได้ในคนที่มีอายุมาก

แนวทางการดูแลป้องกันไม่ให้ หน้าเป็นกระแดด

หลังจากที่เรารู้จักกับ กระแดด ทั้งในแง่ของลักษณะและสาเหตุของการเกิดแล้ว เรามาต่อกันที่วิธีการดูแลผิวหน้าในเบื้องต้นว่า ควรจะหลีกเลี่ยงอย่างไรไม่ให้ผิวเกิดการสะสมจนกลายเป็นปัญหาผิว กระแดด กวนใจจนรบกวนการใช้ชีวิต รวมถึงแนวทางในการรักษากระให้จางลงกัน

  • สำหรับคนที่มีแนวโน้มและมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระได้ง่าย แนะนำให้เริ่มจากการป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงด้วยการเลี่ยงแสงแดด ไม่อยู่กลางแจ้งนาน ๆ โดยไม่จำเป็น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรทาครีมกันแดดที่สามารถช่วยป้องกันรังสี UVA และ UVB และมีค่า SPF50 PA+++ ขึ้นไป และถ้าจำเป็นต้องตากแดดเกือบตลอดทั้งวัน ควรทาครีมกันแดดซ้ำระหว่างวันอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าครีมกันแดดยังมีปริมาณและประสิทธิภาพเพียงพอต่อการป้องกันแสงแดด
ทาครีมกันแดด
  • การหยุดยาคุมกำเนิดหรือฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน โดยเลือกใช้วิธีการอื่นในการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน แนะนำให้ปรึกษากับแพทย์ก่อนเปลี่ยนยา
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกันแสงแดดเพิ่มเติม เช่น สวมหมวกปีกกว้าง กางร่ม สวมแว่นตากันแดด เป็นต้น
  • การใช้ยาหรือครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมช่วยยับยั้งการเกิดเม็ดสีเมลานิน
  • การรักษาด้วยการทำเลเซอร์เพื่อลดหรือยับยั้งการทำงานของเซลล์เม็ดสีผิว โดยควรเลือกเลเซอร์ที่เหมาะกับแต่ละประเภทของกระ

สรุป

แม้ว่า กระแดดที่หน้า อาจจะเป็นหนึ่งในเทรนด์ฮิตที่สาว ๆ หลายคนชื่นชอบ และไม่คิดว่าเป็นปัญหา แต่ก็อาจจะมีบางคนไม่ได้รู้สึกมั่นใจและไม่ได้อยากให้ผิว หน้าเป็นกระแดด ซึ่งยากต่อการลดเรือนรอยกระให้หายสนิทหรือหมดไปในเวลาอันรวดเร็ว สิ่งสำคัญคือการป้องกันและดูแลผิวหน้าให้แข็งแรง เพื่อลดโอกาสการเกิดกระให้ได้มากที่สุด หรือหากเกิดกระขึ้นมาจนเริ่มส่งผลต่อความมั่นใจ ไม่แนะนำให้ปล่อยเอาไว้จนรักษายาก หรือต้องใช้เวลาในการรักษานาน และอาจจะเกิดกระซ้ำขึ้นมาอีกก็ได้หากรักษาไม่ถูกวิธีหรือไม่เหมาะสม ดังนั้นหากมีปัญหากระจึงควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญในการรักษากระ

บทความนี้เขียนโดย แพทย์หญิงธนิดา วรวิวัชร์ (หมอใบเฟิน) แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้ง Chuladoctor Clinic เแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย, การปรับรูปหน้าและเทคนิค SMAPS ขั้นสูง

สนใจปรึกษาฟรี
model

รับคำปรึกษาและรับ

สิทธิพิเศษ