หลุมสิว เกิดจากอะไร? พร้อมไขสารพัดวิธีรักษาหลุมสิวให้ได้ผล
หลุมสิว (Atrophic scar) หรือรอยแผลเป็นจากสิวที่มีลักษณะยุบตัวลงไปเป็นรอยบุ๋ม ไม่เรียบเนียนเสมอกันกับผิวส่วนอื่น ๆ เป็นอีกหนึ่งปัญหาผิวที่ทำให้ชวนหนักอกของสาวหลาย ๆ คน เนื่องจากหลุมสิวไม่สามารถหายได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องอาศัยการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ต่าง ๆ อย่างเช่นการฉีดฟิลเลอร์ หรือ เลเซอร์หลุมสิว มาดูกันว่าหลุมสิวบนใบหน้านั้นเกิดจากอะไร มีกี่ประเภท มีวิธี รักษาหลุมสิว แบบไหนที่ได้ผลบ้าง และจะเลือก คลินิกรักษาหลุมสิว ยังไงให้ปลอดภัยและไม่ผิดหวัง
หลุมสิว เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
หลุมสิว หรือ Atrophic scars คือรอยแผลเป็นจากสิวที่มีลักษณะบุ๋มหรือยุบลงไป ซึ่งสามารถสังเกตได้ว่าผิวตรงที่เป็นหลุมสิวนั้นจะขรุขระ ไม่ราบเรียบเสมอกันกับผิวส่วนอื่น ๆ โดยสาเหตุหลักของ หลุมสิว ก็มาจากการอักเสบของสิวที่รุนแรงและการรักษาสิวที่ผิดวิธี
โดยทั่วไปเมื่อสิวยุบและหายดี ผิวหนังจะสมานและซ่อมแซมตัวเองให้กลับมาเป็นปกติโดยใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน ซึ่งหากกระบวนการนี้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ก็จะไม่เกิด หลุมสิว ขึ้น แต่หากสิวเกิดการอักเสบรุนแรง หรือมีการรักษาสิวที่ผิดวิธี เช่น ไปบีบหรือกดสิวในผิวชั้นลึก ผิวจะสร้างคอลลาเจนและเนื้อเยื่อต่าง ๆ มาซ่อมแซมได้ไม่เพียงพอ ทำให้กระบวนการซ่อมแซมผิวไม่สมบูรณ์ ผิวจึงยุบตัวลงไปกลายเป็นหลุม รวมถึงเมื่อเกิดพังผืดระหว่างการสมานแผล ผิวก็จะหดรั้งตัวจนกลายเป็นรอยบุ๋มและไม่สามารถกลับมาเรียบเนียนเหมือนเดิมได้ จนกลายเป็น หลุมสิว ถาวร ซึ่งไม่สามารถหายเองได้ตามธรรมชาติ
ลักษณะของสิวที่มักทำให้เกิด หลุมสิว ได้แก่ สิวหัวช้าง (cyst) สิวอักเสบ (pustule) และตุ่มหรือก้อนอักเสบขนาดใหญ่ (nodule) ซึ่งล้วนทำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงและเรื้อรังใต้ชั้นผิวหนัง ทำให้คอลลาเจนถูกทำลายไปมากนั่นเอง
ประเภทของ หลุมสิว
เราสามารถแบ่ง หลุมสิว ตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่…
- Ice pick scar (หลุมสิวแบบจิก) มีลักษณะลึกและแคบเหมือนรูปตัว V หรือรูปกรวย ขอบแผลไม่เรียบ ปากแผลค่อนข้างแคบขนาดไม่เกิน 2 มม. แต่มีความลึกจนถึงชั้นหนังแท้หรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง มักเกิดบริเวณแก้ม หลุมสิวประเภทนี้รักษาได้ยากที่สุดและใช้เวลาในการฟื้นฟูนานกว่าจะตื้นขึ้น
- Box scar (หลุมสิวแบบกล่อง) มีลักษณะปากแผลกว้างและก้นหลุมค่อนข้างราบเสมอกัน เห็นขอบหลุมชัดเจน จึงดูคล้ายกับกล่องหรือบ่อ มีความกว้างประมาณ 3-4 มม. มีทั้งแผลที่ตื้นและลึก โดยส่วนใหญ่จะมีพังผืดเกาะในชั้นหนังแท้ มักเกิดได้จากสิวอักเสบหรือแผลอีสุกอีใส
- Rolling scar (หลุมสิวแบบแอ่ง) มีลักษณะปากหลุมกว้างและลาดลงไปคล้าย ๆ แอ่งหรือกระทะ ปากแผลกว้างประมาณ 4-5 มม. มักเกิดพังผืดดึงรั้งชั้นหนังแท้ทำให้ผิวมีลักษณะเป็นคลื่น ๆ ขรุขระ เป็นหลุมสิวชนิดที่ค่อนข้างตื้น เพราะเกิดการยุบตัวของผิวชั้นบนเท่านั้น ทำให้รักษาได้ง่ายที่สุด
วิธี รักษาหลุมสิว
การ รักษาหลุมสิว ด้วยวิธีทางการแพทย์มีด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของหลุมสิว ยกตัวอย่างวิธีที่ได้ผลและได้รับความนิยม ได้แก่
- การใช้เทคนิค SMAPS รักษาหลุมสิว : การใช้เทคนิค SMAPS เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ใช้ เซลล์ต้นกำเนิดจากพืชฉีดเข้าไปในบริเวณที่มีหลุมสิว เนื่องจากเซลล์ต้นกำเนิดจากพืชเหล่านี้มีความสามารถในการพัฒนาไปเป็นเซลล์ต่าง ๆ ในชั้นผิวที่จะช่วยสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินชดเชยส่วนที่สูญเสียไป การใช้เทคนิค SMAPS จึงเป็นวิธีที่ช่วยเติมเต็มหลุมสิว รวมถึงช่วยให้ผิวมีความอิ่มฟู อ่อนเยาว์ขึ้นได้ด้วย โดยหลังฉีดจะเห็นผลชัดเจนว่าหลุมสิวตื้นขึ้นภายใน 1-4 สัปดาห์
- เลเซอร์หลุมสิว : การทำ เลเซอร์หลุมสิว เป็นเทคนิคที่ได้รับความนิยมสูง และมีอยู่หลายรูปแบบตามชนิดของเลเซอร์ เช่น Fractional, Fraxel และ Pico laser ซึ่งหลักการของเลเซอร์คือการปล่อยคลื่นแสงที่ความยาวคลื่นต่าง ๆ กันเข้าไปกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน อีลาสติน และการผลัดเซลล์ผิวใหม่ ทำให้หลุมสิวดูตื้นและเต็มขึ้น อย่างไรก็ตาม การเลเซอร์อาจต้องทำอย่างน้อย 3 – 6 ครั้ง ให้ห่างกันครั้งละ 2 – 3 สัปดาห์ จึงจะเห็นผล รวมถึงวิธีนี้มีโอกาสเกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน โดยหลังทำอาจมีรอยแดง ช้ำ แผลตกสะเก็ด และผิวไวต่อแสงได้ในช่วงวันแรก ๆ ซึ่งจำเป็นต้องพักหน้าและระวังเรื่องการโดนความร้อนและแสงแดดเป็นพิเศษ นอกจากนี้ การทำเลเซอร์บ่อยครั้งก็อาจมีผลข้างเคียง เช่น ทำให้ผิวบางลง ผิวเบิร์น ผิวแดงลอก หรือแสบคันระคายเคืองได้
- การฉีดฟิลเลอร์หลุมสิว : การรักษาด้วยวิธีนี้จะเป็นการฉีดสารเติมเต็มประเภทกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) เข้าไปเติมบริเวณหลุมสิวที่ยุบให้ดูตื้นขึ้น ซึ่งจะเห็นผลประมาณ 70% ทันทีหลังฉีด คือหลุมสิวดูตื้นขึ้น และผิวบริเวณนั้นดูชุ่มชื้น อิ่มน้ำขึ้น โดยไม่ทิ้งแผลเป็นไว้และไม่จำเป็นต้องพักฟื้นหลังทำ การฉีดฟิลเลอร์จะเหมาะกับหลุมสิวตื้น ๆ ที่ยังไม่มีพังผืดเกาะ เช่น หลุมสิวแบบแอ่ง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปฟิลเลอร์จะเข้าไปเติมปริมาตรผิว ทำให้หลุมสิวตื้นขึ้นได้จริง ๆ แต่การรักษาด้วยวิธีนี้จะเป็นการรักษาหลุมสิวที่ไม่ถาวร เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านพ้นไปฟิลเลอร์จะสลายตัว ทำให้หลุมสิวอาจกลับมาปรากฏชัดอีกรอบได้
- การตัดหรือเซาะพังผืด (Subcision) : การ รักษาหลุมสิว ด้วยวิธีนี้จะเป็นการใช้เข็มพิเศษขนาดเล็กสอดเข้าไปใต้ผิวหนัง เพื่อตัดพังผืดที่เกิดจากกระบวนการสมานแผลให้ขาดออกจากกัน และกระตุ้นให้ผิวซ่อมแซมตัวเองใหม่อีกครั้ง รวมถึงเป็นการลดการดึงรั้งของผิวด้วย วิธีนี้เหมาะกับคนที่มีหลุมสิวเป็นบริเวณกว้างทั่วทั้งหน้า และเป็นหลุมสิวลักษณะกว้างและตื้น โดยควรทำซ้ำประมาณ 3-5 ครั้ง และอาจทำร่วมกับการ รักษาหลุมสิว วิธีอื่น ๆ เช่น เลเซอร์หลุมสิว เพื่อให้เห็นผลเร็วขึ้น แต่ทั้งนี้ การตัดพังผืดหลุมสิวก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน เช่น การเกิดรอยช้ำจากการเซาะพังผืด เกิดแผลใหม่ มีการติดเชื้อใต้ผิวหนัง หรือในคนไข้บางคนก็อาจเกิดพังผืดซ้ำซ้อน ทำให้หลุมสิวยิ่งลึกและเห็นชัดเจนกว่าเดิมอีก
- การกรอผิว (Dermabrasion) : การกรอผิว เป็นการใช้เกล็ดอัญมณีขนาดเล็กกรอบริเวณผิวที่มีหลุมสิวเพื่อนำแผลเป็นออก และกระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวขึ้นมาใหม่ วิธีนี้เหมาะกับการ รักษาหลุมสิว ที่กว้างและตื้น รวมถึงเป็นการช่วยลดเลือนรอยดำจากสิวด้วย ในการรักษาต้องทำ 8-10 ครั้งจึงจะเห็นผลดี และควรทำโดยแพทย์ที่มีความชำนาญเท่านั้น เพราะการกรอผิวอาจทำให้ผิวบางลงจนเกิดการระคายเคืองได้ง่าย และยังมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่อผิวได้ เช่น ทำให้ผิวแดง เกิดรอยดำ รอยด่างขาว รวมถึงในคนไข้บางคนก็อาจเกิดแผลเป็นนูน หรือแผลเป็นคีลอยด์ได้อีกด้วย
- การลอกผิวด้วยกรด : การ รักษาหลุมสิว ด้วยวิธีนี้จะเป็นการใช้สารเคมีที่เป็นกรดที่ความเข้มข้นต่าง ๆ มากระตุ้นการหลุดลอกและผลัดเซลล์ผิว ซึ่งจะช่วยให้หลุมสิวดูตื้นขึ้นได้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้กรดไกลโคลิค (Glycolic acid) และกรดแลคติค (Lactic acid) เพื่อผลัดผิวชั้นนอกให้มีความเรียบเนียน หรือการใช้ phenol เพื่อลอกผิวระดับลึกในชั้นหนังแท้ การลอกผิวด้วยกรดจะช่วยให้หลุมสิวประเภท Icepice scar และ Rolling scar แบบตื้น ๆ ดีขึ้นได้ รวมถึงช่วยให้ผิวมีความเรียบเนียน รูขุมขนกระชับ และรอยดำ รอยแดงลดลงด้วย แต่ในกรณีที่ใช้กรดที่มีความแรงเกินไป หรือคนไข้มีผิวที่บอบบาง ระคายเคืองง่ายอยู่แล้ว วิธีนี้ก็อาจทำให้เกิดอาการแสบคัน ผิวหนังอักเสบ มีผื่นแดง สีผิวเปลี่ยนเป็นขาวหรือคล้ำขึ้น ไปจนถึงเกิดการติดเชื้อและเกิดแผลเป็นได้
- การทำ Micro needling : การ รักษาหลุมสิว ด้วยวิธีนี้จะเป็นการใช้เข็มที่ขนาดเล็กมาก ๆ ระดับไมโครจำนวนหลายเล่มจิ้มลงไปบนผิวหน้าด้วยมุม 90 องศาซ้ำ ๆ เพื่อให้เกิดแผลเล็ก ๆ จากนั้นผิวจะเกิดกลไกการสมานแผลตามธรรมชาติ ซึ่งจะมีการสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินขึ้นมาใหม่ ทำให้หลุมสิวที่เคยมีแลดูตื้นขึ้นและผิวโดยรวมเรียบเนียนขึ้นได้ การรักษาด้วย Micro needling ควรทำต่อเนื่องกัน 3-5 ครั้ง โดยแต่ละครั้งห่างกันประมาณ 1 เดือน ซึ่งหลังทำอาจมีอาการบวมแดง แสบร้อนได้บ้าง จึงจำเป็นต้องพักหน้าหลังรักษาด้วย อย่างไรก็ตาม หลังทำคนไข้อาจมีอาการบวมแดง แสบร้อน ผิวแห้ง เป็นแผล หรือมีรอยดำได้ จึงจำเป็นต้องพักหน้าหลังการรักษาด้วย
บทความนี้เขียนโดย แพทย์หญิงธนิดา วรวิวัชร์ (หมอใบเฟิน) แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้ง Chuladoctor Clinic เแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย, การปรับรูปหน้าและเทคนิค SMAPS ขั้นสูง