โทร: 096-187-5888เพื่อรับสิทธิ รักษาฝ้าฟรี 1 ครั้ง

อยาก “ลดความอ้วน” ให้สำเร็จ ต้องรู้จักกับ “ความอ้วน” ให้ดีพอ

Share

สารบัญ

ปัญหาเรื่องของน้ำหนักตัวส่วนเกินจนทำให้รูปร่างดูใหญ่โตหรือใส่เสื้อผ้าแล้วไม่มั่นใจ หรือที่เรียกกันง่าย ๆ ว่า ความอ้วน นับเป็นปัญหาสุดคลาสสิกที่พบเจอได้บ่อยในทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเพศไหนหรือว่าอยู่ในวัยใด ก็มีโอกาสที่จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาว่าตัวเองอ้วน หรือเริ่มอ้วนกว่าเดิม และตามมาด้วยความคิดที่ว่าจะ เริ่มลดความอ้วน เชื่อว่าหลายคนที่เจอปัญหาเรื่องรูปร่างจนต้องการ ลดความอ้วน มักจะคิดว่าอันดับแรกที่ต้องลงมือทำคือ การอดอาหาร ต้องกินให้น้อยลง ออกกำลังกายอย่างหนักแบบหักโหม ต้องรีดเอาเหงื่อออกให้มาก ๆ ถึงจะสามารถ ลดความอ้วน ให้สำเร็จอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้ หารู้ไม่ว่านั่นคือความเชื่อที่ผิด เพราะว่าหลักการที่แท้จริงของ การลดความอ้วน นั้นคือการ ลดไขมันและเพิ่มกล้ามเนื้อ นั่นหมายถึงการลดมวลไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกายลงควบคู่ไปกับการสร้างและรักษามวลกล้ามเนื้อด้วย เพื่อให้การ ลดความอ้วน เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่กลับมาอ้วนซ้ำอีก ไม่ใช่เพียงแค่ผิวเผินลดลงเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วน้ำหนักก็ตีกลับหรือที่เรียกว่า “โยโย่เอฟเฟค” ซึ่งนับเป็นฝันร้ายของคนที่ต้องการลดน้ำหนักอย่างมากเลยทีเดียว ถ้าอยาก การลดความอ้วน ประสบผลสำเร็จ ก่อนอื่นไปเรียนรู้เรื่องของความอ้วนให้มากขึ้นกัน…

เกริ่นนำเรื่องลดความอ้วน

ก่อนจะ ลดความอ้วน มาดูกันว่าแท้จริงแล้ว “ความอ้วน” เกิดจากอะไรกันแน่?

โดยทั่วไปแล้วเมื่อเรากินอาหารเข้าไปในร่างกายมากกว่าปริมาณที่ร่างกายสามารถเผาผลาญหรือนำเอาใช้เป็นพลังงานได้ ส่วนที่เหลือจากการใช้งานที่ไม่ได้ถูกเผาผลาญก็มักจะถูกเก็บสะสมอยู่ในรูปของไขมันซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำรองของร่างกายมนุษย์เราตามธรรมชาติ ทุกวัน ๆ จนน้ำหนักขึ้นและอ้วนได้ในที่สุด หรืออธิบายง่าย ๆ ก็คือ “ความอ้วน” เกิดจากความไม่สมดุลของพลังงานในร่างกายที่เกิดจากการกินอาหารต่าง ๆ ในแต่ละวันเข้าไป ซึ่งหากเรากินอาหารหรือเติมพลังงานเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เท่า ๆ กับการใช้พลังงานออกไปจากร่างกาย เช่น การออกกำลังกาย ขยับเคลื่อนไหวร่างกายตลอดวัน น้ำหนักและรูปร่างก็จะคงที่ไม่อ้วนขึ้นไม่ผอมลง กลับกันหากกินอาหารมากจนเกินไป ร่างกายก็จะได้รับพลังงานมามาก บวกกับออกกำลังกายน้อยหรือขยับเคลื่อนไหวน้อย ก็จะทำให้มีพลังงานเหลือสะสมอยู่มาก ซึ่งพลังงานเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนไปเป็นน้ำหนักที่มากขึ้นของเรานั่นเอง ดังนั้น การลดความอ้วน คือ ต้องกำจัดไขมันส่วนเกินที่ถูกสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายออกไป ซึ่งไขมันส่วนเกินนอกจากจะมองเห็นจากภายนอกแล้วยังเป็นภัยร้ายเกาะตามชั้นใต้ผิวหนังและสะสมตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ และหัวใจ ที่สามารถเพิ่มโอกาสเสี่ยงของโรคร้ายต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ข้อเสื่อม โรคหัวใจ หลอดเลือดสมองตีบ ความดันเลือดสูง รวมไปถึงปัญหาด้านจิตใจ เช่น ไม่พอใจร่างกายตัวเอง หรือการถูกตัดสินจากสังคม

ก่อนลดความอ้วน

ลักษณะแบบไหนที่เรียกว่า “อ้วน” จนต้อง เริ่มลดความอ้วน และรีบหันมาดูแลสุขภาพก่อนสาย

หลายคนอาจจะเกิดความคิดที่ว่า แล้วแบบไหนที่เรียกว่าอ้วน? เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความอ้วนไม่ได้มาจากตัวเลขที่ปรากฎบนตาชั่งหรือการมองจากภายนอกเพียงอย่างเดียว เพราะคนเรามีสรีระ ความสูง และมวลร่างกายที่แตกต่างกัน โดยความอ้วนที่แท้จริงนั้นมาจากไขมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ในร่างกายอย่างที่กล่าวไป ดังนั้น เวลาลดน้ำหนัก หรือ ลดความอ้วน เราจึงต้องลดที่ไขมันส่วนเกินในร่างกาย ซึ่งสามารถเช็กไขมันส่วนเกินที่สะสมในร่างกายเบื้องต้นได้ด้วยค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) ด้วยการนำน้ำหนักตัวที่เป็นหน่วยกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงที่มีหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง แล้วนำผลที่ได้มาเช็กกับเกณฑ์การแปรผลค่า BMI ดังต่อไปนี้

แบบไหนที่เรียกว่าอ้วน
30.0 ขึ้นไป อ้วนระดับ 2

ค่อนข้างอันตราย เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน หากค่า BMI อยู่ในระดับนี้ จะต้องปรับพฤติกรรมการทานอาหาร และควรเริ่มออกกำลังกาย และหากเลขยิ่งสูงกว่า 40.0 ยิ่งแสดงถึงความอ้วนที่มากขึ้น ควร ลดความอ้วน อย่างเร่งด่วน แนะนำให้ไปตรวจสุขภาพ และปรึกษาแพทย์

25 - 29.90 อ้วนระดับ 1

อ้วนในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะไม่ถึงเกณฑ์ที่ถือว่าอ้วนมาก ๆ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับความอ้วนได้เช่นกัน ทั้งโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง จึงควร เริ่มลดความอ้วน ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพ

23 – 24.90 น้ำหนักเกิน

แม้จะไม่ถึงกับอ้วนแต่ถือว่ายังมีน้ำหนักที่มากกว่าเกณฑ์ในระยะเริ่มต้น ยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน ควรปรับพฤติกรรมการทานอาหาร ออกกำลังกาย เพื่อ ลดความอ้วน ลงให้น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ และตรวจสุขภาพเช่นกัน

18.60 – 24 น้ำหนักปกติ

น้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทยคือค่า BMI ระหว่าง 18.5-24 จัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ค่อนข้างน้อย ควรพยายามรักษาระดับค่า BMI ให้อยู่ในระดับนี้ต่อไป และควรตรวจสุขภาพทุกปี

น้อยกว่า 18.50 ผอมเกินไป

น้ำหนักน้อยกว่าปกติก็ไม่นับว่าเป็นเรื่องดี หากคุณสูงมากแต่น้ำหนักน้อยเกินไป อาจเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ควรเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารและประโยชน์อย่างเพียงพอ และการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อสามารถช่วยเพิ่มค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้

ทำไมถึงอ้วนขึ้นมาได้

ลดความอ้วน ให้ได้ผลต้องรู้ลึกถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้ร่างกายเกิดภาวะอ้วนหรือไขมันสะสมจนมีน้ำหนักเกิน

การลดความอ้วน ควรจะเริ่มต้นจากวิเคราะห์สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือมีค่า BMI เกินค่ามาตรฐาน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแก้ไขจากสาเหตุนั้น ๆ โดยมีปัจจัยหลายประการที่เพิ่มความเสี่ยงของความอ้วน ดังต่อไปนี้

  • พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมของคนยุคใหม่ทำให้เพิ่มโอกาสเหลือพลังงานส่วนเกิน คนรุ่นใหม่มักจะบริโภคน้ำตาลและไขมัน จนในแต่ละวันได้รับคาร์โบไฮเดรตและไขมันมากเกินไป ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารประเภทโปรตีน ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • รับประทานอาหารตามอารมณ์ โดยไม่ตั้งสติให้ดีก่อนกิน
  • ความผิดปกติ หรือมีความเจ็บป่วย เช่นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เนื่องจากภาวะต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนน้อยลง ส่งผลให้มีการเผาผลาญน้อยเกินไป ทำให้เกิดภาวะโรคอ้วนและนำไปสู่การลดน้ำหนักหรือลดความอ้วนได้ยาก
  • มีโอกาสเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน ไม่ว่าจะเป็น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย นั่งอยู่กับที่นานเกินกว่า 10 ชั่วโมง ไม่ค่อยได้ขยับตัวทำให้ไม่ได้ใช้พลังงานที่ได้รับจากสารอาหารในแต่ละวัน จึงทำให้ร่างกายสะสมไขมันจนนำไปสู่ภาวะอ้วน
  • วัฒนธรรมการกินของคนไทย ความง่ายในการเข้าถึงอาหาร เช่น กลุ่มเพื่อนและครอบครัวที่มักจะชวนออกไปหาอะไรกินหลังเลิกงานหรือในช่วงวันหยุด
  • กรรมพันธุ์ ครอบครัวมีพ่อแม่อ้วน จึงมักพบเด็กอ้วนในครอบครัว รวมถึงจากการเลี้ยงดูการปลูกฝังของครอบครัว
  • เพศ โดยส่วนมากผู้หญิงจะอ้วนง่ายเพราะมีมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ชาย จึงสะสมไขมันได้ง่ายกว่า
  • อายุ เนื่องจากความสามารถในการการเผาผลาญพลังงานของแต่ละคนจะมีอัตราลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น

สรุป

ความอ้วนหรือการที่คน ๆ หนึ่งจะมีน้ำหนักที่เกินมาตรฐานจนต้อง ลดความอ้วน นั้นขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม ยีนส์ ฮอร์โมน พฤติกรรมการใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน รวมถึงความสามารถในการการออกกำลังกาย ดังนั้น การลดความอ้วน ให้เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนและน่าพึงพอใจ จึงต้องพิจารณาอย่างละเอียดเฉพาะบุคคลไป สำหรับใครที่ลดน้ำหนักมาหลากหลายแนวทางแต่ยังไม่ได้ผล แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางด้านการลดน้ำหนักและดูแลรูปร่าง และทำการทดสอบเพื่อวินิจฉัยโรคอ้วนและตรวจสอบปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคอ้วน การทดสอบอาจรวมถึงการทบทวนประวัติสุขภาพ การตรวจร่างกาย การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย การวัดรอบเอว การตรวจเลือด ตรวจสอบปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เป็นต้น เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้คน ๆ นั้นน้ำหนักเกิน หรือเพราะเหตุใดจึง ลดความอ้วน ไม่ได้ผล เพื่อการวางแผนการรักษาหรือการลดน้ำหนักแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการดูแลรูปร่างเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจและสามารถคงรูปร่างที่เหมาะสมกับแต่ละคนไว้ได้อย่างยั่งยืน

บทความนี้เขียนโดย แพทย์หญิงธนิดา วรวิวัชร์ (หมอใบเฟิน) แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้ง Chuladoctor Clinic เแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย, การปรับรูปหน้าและเทคนิค SMAPS ขั้นสูง

สนใจปรึกษาฟรี
model

รับคำปรึกษาและรับ

สิทธิพิเศษ