เจาะลึก ทำไมแสงแดด จึงเป็นตัวการร้าย ทำให้เกิด “ฝ้าแดด”
ประเทศไทยเรานั้นไม่ว่าจะฤดูกาลไหนของปีก็มักจะเต็มไปด้วยแสงแดดจัด ๆ รังสียูวีระดับเข้มข้น ความร้อน รวมไปจนถึงมลภาวะ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน หรือช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 หนาจัดซึ่งมักจะหมุนเวียนมาให้เราได้ประสบพบเจอตลอดปี ดังนั้นการจะต้องใช้ชีวิตโดยหลีกเลี่ยงแสงแดดหรือมลภาวะเหล่านี้ก็อาจจะทำได้ยาก แม้ว่าแสงแดดจะมีประโยชน์ในแง่ของการให้วิตามินดีซึ่งเป็นวิตามินที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อการดูดซึมแคลเซียมที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูก แต่ในกรณีที่ได้รับแสงแดดในระดับที่เข้มข้นมากจนเกินไป ก็ย่อมเกิดผลร้ายต่อร่างกายตามมาได้ด้วยเช่นกัน หนึ่งในปัญหาที่สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากแสงแดดนั่นก็คือ “ฝ้าแดด” ซึ่งเป็น ฝ้าบนใบหน้า ที่มักเกิดขึ้นกับผิวของมนุษย์เราได้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ คือการที่ผิวหน้าต้องพบเจอกับรังสียูวีจากแดดอยู่เป็นประจำ และต่อเนื่องเป็นเวลานานจนสะสมและก่อให้เกิดปัญหาผิวจำพวก ฝ้ากระ จุดด่างดํา ในอนาคตได้โดยไม่รู้ตัว และกว่าจะรู้ตัวปัญหาผิวต่าง ๆ ก็อาจจะที่ฝังรากลึกจนยากต่อการรักษาหรืออาจจะต้องใช้เวลานานมากขึ้นนั่นเอง ถ้าอย่างนั้นเราไปดูข้อมูลเจาะลึกกันว่าเพราะอะไรแสงแดดจึงเป็นตัวการร้ายทำให้เกิด ฝ้าบนใบหน้า แล้วมีตัวการอะไรอีกบ้างที่ต้องระวังและรู้ทันเพื่อลดโอกาสเสี่ยงไม่ให้ฝ้ามาเยือนใบหน้าของเรา
รู้จักกับรังสีต่าง ๆ ในแสงแดด ตัวการก่อฝ้าแดดและ ฝ้าบนใบหน้า
หลายคนคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า ออกไปโดนแดดแรง ๆ นาน ๆ ระวังหน้าเป็นฝ้าแดด แล้วจริง ๆ ฝ้าแดดเป็นง่ายมากน้อยแค่ไหน ตามหลักการแล้ว ฝ้าบนใบหน้า เกิดจากการที่เมลานิน คือ เม็ดสีที่เกิดจากเมลาโนไซด์ (Melanocyte) ที่เป็นเซลล์ผิวหนัง ได้รับการกระตุ้นให้ทำงานผิดปกติ สร้างเม็ดสีขึ้นมากเยอะกว่าปกติ จนเริ่มมีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงดำ ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีรอยปื้นสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำ และมีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจมีลักษณะเป็นปื้นหรือเข้มเป็นกระจุก แล้วผิวหน้าของเราถูกปัจจัยอะไรกระตุ้นจนเม็ดสีทำงานผิดปกติจนเกิด ฝ้าบนใบหน้า ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักกับแสงแดดให้มากขึ้นกัน…
“แสงแดด” ประกอบด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รังสียูวี (UV Rays) ซึ่งเป็นคลื่นแสงที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็นด้วยตา โดยรังสียูวีที่เดินทางมาถึงโลกคิดเป็นเพียง 5% ของแสงแดดทั้งหมด แต่เพียงแค่เท่านี้ก็มีพลังมหาศาล ซึ่งรังสีจากแสงแดดมีอยู่หลายชนิด ในขณะที่รังสี UVC ส่วนใหญ่ถูกบล็อกโดยชั้นโอโซนของโลก ส่วนรังสี UVA และ UVB ยังคงสามารถเดินทางมาถึงชั้นผิวโลกและส่งผลกระทบต่อผิวหนังมนุษย์เราได้ โดยแบ่งตามชนิดของรังสีดังต่อไปนี้
- รังสียูวีเอ (UVA)
รังสียูวีเอ (UVA) คือ รังสีอัลตราไวโอเลตที่ยาวที่สุด ทำร้ายผิวได้ในระดับลึกเนื่องจากสามารถทะลุไปถึงชั้นผิวหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ได้ หากได้รับรังสี UVA มากๆ จะทำให้สีผิวคล้ำ ขาดความสดใส เกิดอนุมูลอิสระในผิวหนัง ทำลายความยืดหยุ่นของเซลล์ ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอยก่อนวัย แถมรังสียูวีเอยังสามารถทะลุกระจกหรือวัตถุต่าง ๆ เข้ามาทำร้ายชั้นผิวได้อีกด้วย นอกจากนี้เมื่อรังสี UVA กระทบกับผิวหนังชั้นนอกจะก่อให้เกิดการกระตุ้นเซลล์ผิวชั้นนอกให้ผลิตสารเพื่อเป็นเกราะป้องกันผิวจากรังสีที่มีชื่อว่า เมลานิน (Melanin) หรือเม็ดสีผิว ทำให้สีผิวหมองคล้ำและเกิด ฝ้ากระ จุดด่างดํา นั่นเอง
- รังสียูวีบี (UVB)
รังสียูวีบี (UVB) คือ รังสีอัลตราไวโอเลตที่มีความยาวคลื่นรองลงมา จะถูกกั้นโดยชั้นบรรยากาศบางส่วน และลงมาถึงผิวโลกประมาณร้อยละ 0.1 ของแสงทั้งหมด โดยเฉพาะช่วงเวลาตั้งแต่ 10.00-14.00 น. รังสีนี้จะมีความแรงสูงสุด แม้ว่ารังสี UVB จะไม่สามารถทะลุสู่ชั้นผิวหนังที่ลึก แต่สามารถแทรกซึมสู่หนังกำพร้า ส่งผลทำให้เกิดผิวหนังไหม้หรืออักเสบเนื่องจากปฏิกิริยาภูมิแพ้แสงแดด ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื้น เกิดอาการแสบร้อน แดง และไหม้เกรียม ทำให้รู้สึกแสบผิวและเกิดรอยดำจากแดด หรือทำให้ผิวมีสีแทนหรือเข้มได้ อีกทั้งเซลล์ผิวหนังที่ถูกสร้างขึ้นใหม่จะมีความไวต่อรังสี และบอบบางกว่าเซลล์ผิวเดิม
นอกจากแสงจาก “แสงแดด” แล้ว ตัวการก่อฝ้าแดดและ ฝ้าบนใบหน้า ยังมาจากอะไรได้อีกบ้าง?
นอกจากรังสี UV ในแสงแดดแล้ว ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำการกระตุ้นให้ผิวหน้าของเราเกิด ฝ้ากระ จุดด่างดํา รวมไปจนถึง “ฝ้าแดด” และ ฝ้าบนใบหน้า ชนิดต่าง ๆ ยังสามารถเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอีกอย่างหนึ่งได้นั่นก็คือ “แสง” ที่ไม่ได้เกิดจากแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ แสงจากโทรศัพท์มือถือ แสงสีฟ้าจากจอคอมพิวเตอร์ รวมถึงแสงสว่างจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่นอกจากจะมีรังสี UVA / UVB แล้วยังมี Blue light ซึ่งนับว่าร้ายกาจยิ่งกว่าแสงแดด เพราะสามารถทำลายชั้นผิวได้ลึกยิ่งกว่ารังสี UVA และ UVB จึงก่อให้เกิดปัญหาผิว เช่น ฝ้ากระ จุดด่างดํา ตามมาได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญแสงสีฟ้าหรือ Blue light เป็นแสงที่มีอยู่รอบตัวเราทำให้ผิวเราสัมผัสได้บ่อย หลีกเลี่ยงได้ยาก และอาจต้องเจอแสงสีฟ้ายาวนานมากในแต่ละวัน ทำให้ Blue Light เข้าไปทำลายคอลลาเจนชั้นใต้ผิว เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ผิวเสื่อมสภาพเร็วจนหย่อนคล้อย ดูแก่กว่าวัย และกระตุ้นการเกิดเม็ดสีเมลานินที่ทำให้ผิวหน้าเป็น ฝ้ากระ จุดด่างดํา รวมถึงหากเป็น ฝ้าบนใบหน้า ฝังลึกเม็ดสีก็จะยิ่งชัดมากขึ้นด้วย
เราควรจะป้องกันผิวหน้าจากแดดอย่างไรไม่ให้เกิด ฝ้าบนใบหน้า
3ฝ้าแดด หากได้รับปัจจัยเหล่านี้เป็นเวลานานติดต่อกัน โดยไม่มีการป้องกันดูแลผิวที่เหมาะสม เม็ดสีที่โดนกระตุ้นจากรังสีอันตรายต่อผิวพรรณต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะมีสีเข้มขึ้นอย่างช้า ๆ และค่อย ๆ ปรากฎให้เห็นชัดเจนจนยากต่อการปกปิด และหากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะลุกลามเป็นฝ้ากระระดับลึกที่รักษายากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งอาจจะต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาเพื่อให้ได้ผลผลัพธ์ที่น่าพึงพอใจอย่าง SMAPS เทคนิคการรักษาฝ้าขั้นสูง สิทธิบัตรเฉพาะของ Chuladoctor Clinic ก็อาจจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ ฝ้าบนใบหน้า จางลงได้ และสำหรับใครที่อยากปกป้องผิวหน้าก่อนจะเกิด ฝ้าบนใบหน้า ลองทำตามเคล็ดลับดี ๆ ดังต่อไปนี้
- หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00 – 16.00 น. ที่รังสี UV มีความเข้มข้นสูง หรือหากออกไปข้างนอกให้การทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ที่เหมาะสมทุกครั้ง โดยแนะว่าเลือกแบบที่มีค่า SPF 50 PA+++ ขึ้นไป ควรเลือกครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB รวมถึงป้องกันแสงสีฟ้าด้วย เพราะแม้จะไม่ได้ออกแดดแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตปกติของคนยุคนี้คือติดหน้าจอและต้องใช้งานคอมพิวเตอร์อยู่เป็นประจำ จึงต้องปกป้องผิวในระหว่างใช้งานหน้าจอเหล่านี้ด้วย แนะนำว่าปริมาณครีมกันแดดที่เหมาะสม คือ บีบครีมให้ยาวประมาณ 2 ข้อนิ้วมือทาให้ทั่วทั้งใบหน้าและบริเวณลำคอรวมถึงหลังใบหู และควรทาครีมกันแดดช้ำทุก 2 ชั่วโมงเมื่อต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน เพื่อปกป้องผิวจาก ฝ้าบนใบหน้า
- บำรุงและดูแลผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการใช้ครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ช่วยลดเลือนฝ้า ซึ่งมักจะมีสารสกัดที่ช่วยลดเม็ดสีเมลานิน ปรับผิวให้ดูกระจ่างใส สครับผิวหน้าเพื่อผลัดเซลล์ผิวเก่า หรือเติมวิตามินผิว หรือทำทรีทเม้นท์บำรุงผิว เพื่อการบำรุงด้วยสารอาหารผิวแบบเร่งด่วน
- พกอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันแสงแดดติดกระเป๋าหรือติดรถออกไปด้วยทุกครั้ง ได้แก่ ร่มที่ป้องกันรังสี UV ได้ หมวกปีกกว้าง หรือเสื้อคลุมกันบริเวณแขน เสื้อคลุมแบบมีฮู้ด หรือเสื้อคลุมแบบกันยูวีได้ เป็นต้น เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ช่วยปกคลุมร่างกายไม่ให้ผิวโดนแสงแดดโดยตรง ลดปริมาณรังสียูวีที่จะได้รับลงนั่นเอง
- จำกัดเวลาการใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หากิจกรรมอื่นๆ หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หากคุณเป็นอีกคนที่ต้องพบเจอกับแสงแดดหรือแสงจากหน้าจออยู่เป็นประจำ อย่าลืมหมั่นสังเกตผิวหน้าของตัวเอง ว่าเริ่มจะมีลักษณะของจุดดำคล้ำเล็ก ๆ เป็น ฝ้าตื้น โดยบริเวณโหนกแก้มทั้งสองข้าง, สันจมูก และหน้าผาก เพราะเป็นจุดที่รับแสงต่าง ๆ ได้มากที่สุด ให้รีบดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ แม้จะเป็นเพียงฝ้าตื้น อย่าปล่อยให้ฝังลึกในระดับร้ายแรง หรือมีปริมาณเม็ดสีใต้ผิวหนังที่ผิดปกติ มีปริมาณมากและมักจะไม่ใช่ฝ้าสีน้ำตาล แต่เป็นสีม่วงคล้ำ และขยายวงกว้างกระจายไปทั่วใบหน้า เพราะการเป็นฝ้าแดดแบบนี้จะรักษายาก เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่ก็ยังสามารถรักษาจางลงได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของฝ้าและสภาพผิวของแต่ละคนด้วย ไม่ว่าจะเป็น การใช้ครีมบำรุงผิวที่มีสารช่วยในการรักษาฝ้า, การทายารักษาฝ้าโดยเฉพาะ วิธีนี้ใช้ได้ผลดีกับ ฝ้าตื้น มากกว่า ส่วนฝ้าลึกที่สะสมมาอย่างยาวนานและควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ผิวหนังด้วยแนวทางการรักษาทางการแพทย์สมัยใหม่ อย่าง การใช้เทคนิค SMAPS ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังเท่านั้นเพื่อผลลัพธ์ที่ดี น่าพึงพอใจ และปลอดภัยต่อผิวนั่นเอง
สรุป
แม้ว่า “ฝ้าแดด” อาจจะดูแล้วหลีกเลี่ยงได้อย่างเนื่องจากสภาพแวดล้อมของประเทศไทย แต่มีวิธีมากมายในการปกป้องผิวก่อนจะสายหรือปล่อยให้ฝ้าฝังอยู่ในระดับที่ร้ายแรง ดังนั้นการดูแลผิวอย่างต่อเนื่องและทาครีมกันแดดที่เหมาะสมเป็นประจำแม้ไม่ได้ออกไปโดนแสงแดดโดยตรงก็ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรละเลย รวมถึงการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังหากพบปัญหาฝ้าที่ดูผิดปกติหรือน่าสงสัย ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาผิวรุนแรงจนยากต่อการรักษา
บทความนี้เขียนโดย แพทย์หญิงธนิดา วรวิวัชร์ (หมอใบเฟิน) แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้ง Chuladoctor Clinic เแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย, การปรับรูปหน้าและเทคนิค SMAPS ขั้นสูง