โทร: 096-187-5888เพื่อรับสิทธิ รักษาฝ้าฟรี 1 ครั้ง

“ฝ้าไม่ทราบสาเหตุ” เกิดจากอะไร มาดูกัน

Share

สารบัญ

ฝ้าไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไร

ฝ้าบนใบหน้า ถือเป็นปัญหาผิวยอดฮิตของคนไทย โดยเฉพาะคนที่อยู่ในช่วงวัย 40 ปีขึ้นไป รวมถึงคนที่ต้องใช้ชีวิตกลางแจ้งและสัมผัสแสงแดดอยู่เป็นประจำ เนื่องจากอายุ รังสี UV ไปจนถึงพันธุกรรม นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้ อย่างไรก็ตาม บางครั้งคนที่มีอายุน้อย ทาครีมกันแดดปกป้องผิวอยู่เป็นประจำ รวมถึงไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นฝ้ามาก่อน ก็อาจเกิด ฝ้าไม่ทราบสาเหตุ ขึ้นมาได้เช่นกัน เนื่องจากอาจมีปัจจัยแฝงอื่น ๆ ที่เราไม่รู้มาก่อน ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงโอกาสเกิดฝ้าที่มาโดยไม่รู้สาเหตุ และแนะนำว่าเราจะ รักษาฝ้า เหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง

ฝ้าบนใบหน้า เกิดจากอะไร

ฝ้าบนใบหน้า เกิดจากอะไร

ฝ้า หรือ Melasma เกิดจากภาวะที่เซลล์เมลาโนไซต์ (melanocytes) ในผิวหนังมีการสร้างเม็ดสีเมลานินมากผิดปกติ ทำให้ปรากฏเป็นรอยปื้นสีน้ำตาลอ่อน-เข้ม เทา จนถึงดำอยู่บนใบหน้า โดยฝ้าอาจมีลักษณะเป็นจุดสีเข้มกระจายตัวกันคล้ายกระ หรือเป็นปื้นเรียบขยายตัวเป็นวงกว้างก็ได้ ตามปกติเรามักพบฝ้าในบริเวณโหนกแก้ม จมูก หน้าผาก และอาจรวมไปถึงลำคอ และบ่อยครั้งฝ้าก็มักมีลักษณะเข้มขึ้นหรือเห็นชัดขึ้นได้เมื่อเวลาผ่านไป ทำให้หลายคนเสียความมั่นใจจนต้องหาทางปกปิดหรือรีบรักษา

มีปัจจัยหลายอย่างที่เราทราบว่าเกี่ยวข้องกับการเกิดฝ้าโดยตรง ตัวอย่างเช่น รังสี UV ในแสงแดด ความผิดปกติของฮอร์โมน การตั้งครรภ์ พันธุกรรม ไปจนถึงการใช้ยาบางชนิด ใครที่มีปัจจัยเหล่านี้จึงนับว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิด ฝ้าบนใบหน้า มากกว่าคนอื่น ๆ

เราสามารถเกิด ฝ้าไม่ทราบสาเหตุ ได้หรือไม่

ฝ้าไม่ทราบสาเหตุ เกิดจากอะไรได้บ้าง

แม้เราจะรู้ว่าฝ้าเกิดจากการสร้างเม็ดสีผิวผิดปกติ แต่สาเหตุที่ทำให้เซลล์เมลาโนไซต์ทำงานมากเกินไปนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด จึงเป็นไปได้ที่บางคนจะเกิด ฝ้าไม่ทราบสาเหตุ ขึ้นมา แม้จะพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ แล้ว เช่น การสัมผัสแสงแดด การใช้เครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน ไปจนถึงการใช้ยาที่อาจก่อให้เกิดฝ้า อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยแฝงอื่น ๆ รอบตัวเราที่นักวิจัยเชื่อว่าอาจกระตุ้นให้เกิดฝ้าได้ ซึ่งเราอาจได้รับหรือกำลังเผชิญอยู่โดยไม่รู้ตัว รวมไปถึงมีปัจจัยที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้บางอย่างที่อาจเพิ่มโอกาสเกิดฝ้าได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น…

  • เพศ: ผู้หญิงมีโอกาสเกิดฝ้าได้มากกว่าผู้ชายสูงถึง 9:1
  • สีผิว: คนที่มีสีผิวคล้ำ ผิวสองสี หรือผิวแทน มีโอกาสเกิดฝ้าได้มากกว่าคนที่มีผิวขาว
  • ความผิดปกติของฮอร์โมน: การมีระดับฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวนอาจกระตุ้นให้เกิด ฝ้าบนใบหน้า ได้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมฝ้าจึงมักเกิดในคนตั้งครรภ์หรือคนที่ทานยาคุมกำเนิดบางชนิด
  • มลภาวะ: การสัมผัสกับฝุ่น ควัน มลพิษ เช่น ฝุ่น PM2.5 เป็นประจำ จะทำให้เซลล์ผิวเกิดความเสียหาย และกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีผิดปกติขึ้นมาได้
  • ความเครียด: ภาวะเครียดจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล (cortisol) เพิ่มขึ้น ซึ่งมีงานวิจัยที่พบว่าฮอร์โมนดังกล่าวอาจเหนี่ยวนำให้เกิดฝ้าได้เช่นกัน
  • การขาดวิตามิน บี12: งานวิจัยทางการแพทย์ในปัจจุบันเผยว่าภาวะขาดวิตามิน บี12 อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดฝ้า ดังนั้น คนที่ไม่ค่อยได้รับประทานเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ไข่ หรือคนที่ทานมังสวิรัติ จึงมีโอกาสเกิดฝ้าโดยไม่ทราบสาเหตุได้

ทำอย่างไรหากเกิด ฝ้าไม่ทราบสาเหตุ

หากเกิด ฝ้าไม่ทราบสาเหตุ ทำอย่างไร

หากอยู่ ๆ เกิดฝ้าขึ้นมาบนใบหน้าโดยไม่รู้สาเหตุแน่ชัด สิ่งที่ควรทำมีดังต่อไปนี้

  • ลองพิจารณาว่ามีปัจจัยใดที่อาจกระตุ้นให้เกิดฝ้าโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือไม่ เช่น การสัมผัสมลพิษ ความเครียดสะสม การใช้ยาบางตัว หรือการลดน้ำหนักอย่างผิดวิธี ซึ่งอาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงและอาจได้รับสารอาหารไม่สมดุล หากเราพบว่ามีปัจจัยตามที่ว่ามานี้ก็ควรพยายามหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ้าที่มีอยู่แย่ลง
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยที่เราทราบแน่ชัดว่าส่งผลต่อการเกิดฝ้า เช่น การสัมผัสแสงแดด โดยควรทาผลิตภัณฑ์ที่มีค่าการป้องกันแดดเพียงพอเป็นประจำทุกวัน เพื่อยับยั้งการเกิดฝ้าใหม่ และเพื่อไม่ให้ฝ้าที่มีอยู่แย่ลงกว่าเดิม
  • ลดการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง เนื่องจากอาหารที่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจะไปกระตุ้นการอักเสบของผิว ซึ่งอาจเหนี่ยวนำให้มีการสร้างเมลานินเพิ่มขึ้น จนเกิดปัญหาฝ้า กระ จุดด่างดำ ตามมาได้
  • เบื้องต้นอาจเริ่มรักษาฝ้าด้วยตัวเองได้ ด้วยการใช้สกินแคร์ที่มีส่วนผสมของวิตามิน ซี และสารอื่นๆ ที่มีฤทธิ์ช่วยลดเม็ดสี อย่างไรก็ตาม การใช้สกินแคร์มีส่วนช่วยให้ฝ้าจางลงได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การจะลดเลือนฝ้าที่เข้มมาก ๆ ให้หายไปเกือบ 100% จะต้องอาศัยวิธีทางการแพทย์ช่วยรักษาจึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน

รักษาฝ้าด้วยวิธีทางการแพทย์ เทคนิคไหนดี

รักษาฝ้า ด้วยวิธีทางการแพทย์

การรักษาฝ้าด้วยวิธีทางการแพทย์มีด้วยกันหลายเทคนิค โดยเทคนิคที่ค่อนข้างเป็นที่นิยม ได้แก่

  • การทำ MD ลดฝ้า: การทำ MD หรือการกรอผิว คือการใช้ผงคริสตัลที่มีขนาดเล็กมากๆ กรอลงบนผิวเพื่อกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว และทำให้เกิดการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็คือฝ้า กระ จุดด่างดำที่ลดเลือนลง และผิวที่ดูเรียบเนียนกระจ่างใสยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การกรอผิวเป็นการผลัดเซลล์ผิวชั้นบนเท่านั้น จึงอาจไม่ได้ช่วยกำจัดฝ้าที่อยู่ลึกใต้ชั้นผิว อีกทั้งการทำ MD หลายครั้งอาจทำให้ผิวแสบ แดง ระคายเคือง หรือบางลงได้เช่นกัน
  • การทำเลเซอร์ฝ้า: การทำเลเซอร์เพื่อลดฝ้านั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับเครื่องและพลังงานที่ใช้ ตัวอย่างเช่น Picosecond laser ซึ่งเป็นการยิงลำแสงพลังงานสูงเข้าสู่ผิวในช่วงสั้น ๆ เพื่อทำลายเม็ดสีเมลานินและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน อย่างไรก็ตาม การ รักษาฝ้า ด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องทำต่อเนื่องกันหลายครั้ง ซึ่งการรับความร้อนจากแสงเลเซอร์บ่อย ๆ ก็มีโอกาสทำให้ผิวลอก แดง ระคายเคือง และไวต่อแสงได้ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดฝ้าใหม่ได้อีกด้วย
  • การฉีดฝ้า: การฉีดสลายฝ้า เป็นการฉีดสารต่าง ๆ เช่น วิตามิน อัลฟ่าอาร์บูติน สเต็มเซลล์ หรือโกรทแฟคเตอร์เข้มข้นเข้าสู่ผิว เพื่อให้เข้าไปออกฤทธิ์ลดเลือนฝ้า กระ จุดด่างดำ ชะลอการสร้างเม็ดสีผิว กระตุ้นการผลัดเซลล์และเพิ่มการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ส่งผลให้ ฝ้าบนใบหน้า ดูจางลง ผิวมีความเรียบเนียน กระจ่างใส อ่อนเยาว์ และแข็งแรงยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการ รักษาฝ้า ที่ต้นเหตุอย่างครอบคลุมและตรงจุดแล้ว ยังเป็นเทคนิคที่ช่วยป้องกันปัญหาผิวอื่น ๆ ได้อย่างรอบด้านด้วย

สรุป

ใครที่เกิด ฝ้าไม่ทราบสาเหตุ ขึ้นมา อาจลองสำรวจดูว่าเรามีปัจจัยแฝงบางอย่างที่อาจกระตุ้นให้เกิด ฝ้าบนใบหน้า โดยไม่รู้ตัวหรือไม่ และหากฝ้าที่เกิดขึ้นมีความเข้มหรือเป็นบริเวณกว้าง ก็อาจปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อหาวิธี รักษาฝ้า ที่ได้ผลต่อไป

บทความนี้เขียนโดย แพทย์หญิงธนิดา วรวิวัชร์ (หมอใบเฟิน) แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้ง Chuladoctor Clinic เแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย, การปรับรูปหน้าและเทคนิค SMAPS ขั้นสูง

สนใจปรึกษาฟรี
model

รับคำปรึกษาและรับ

สิทธิพิเศษ