โทร: 096-187-5888เพื่อรับสิทธิ รักษาฝ้าฟรี 1 ครั้ง

หลุมสิวตื้น ลักษณะเป็นอย่างไร แล้วรักษาแบบไหนถึงได้ผล

Share

สารบัญ

ทำความรู้จักกับ หลุมสิวตื้น ลักษณะเป็นอย่างไร แล้วรักษาแบบไหนถึงได้ผล

เรื่องหลุมสิวเป็นปัญหาผิวที่สร้างความหนักใจให้ใครหลายคน เนื่องจากหลุมสิวบนใบหน้าเป็นสิ่งที่จัดการได้ยาก ไม่สามารถรักษาให้หายด้วยตัวเองได้ รวมถึงไม่อาจปกปิดด้วยเมคอัพได้อย่างแนบเนียน แถมหลุมสิวก็มีหลายประเภท ทั้งหลุมสิวตื้น และหลุมสิวลึก ซึ่งแนวทางการรักษาก็แตกต่างกันออกไป ในวันนี้เราจะเน้นไปที่ หลุมสิวตื้น เป็นหลัก มาดูกันว่าหลุมสิวเกิดจากอะไร และจะมีวิธี รักษาหลุมสิวตื้น ได้อย่างไรบ้าง

หลุมสิวเกิดจากอะไร ?

หลุมสิวเกิดจากอะไร

หลุมสิว (Atrophic scars) คือรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นหลังจากการอักเสบของสิว โดยปกติเมื่อเกิดสิวขึ้นบนใบหน้าและสิวยุบตัวลง ผิวหนังจะมีการซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างเซลล์ผิวหนังและคอลลาเจนขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่เกิดสิวชนิดที่มีการอักเสบรุนแรงและลงลึกถึงผิวหนังชั้นใน เช่น สิวหนองเม็ดใหญ่ สิวหัวช้าง หรือ สิวที่มีการติดเชื้อลุกลาม บวกกับมีการจัดการกับสิวที่ผิดวิธี อย่างเช่นการแกะหรือบีบสิว ก็อาจส่งผลให้กระบวนการสมานแผลของผิวหนังไม่สมบูรณ์ ภายในชั้นผิวไม่สามารถสร้างคอลลาเจนและเนื้อเยื่อต่าง ๆ มาทดแทนส่วนที่ถูกทำลายไปได้เพียงพอ ผิวจึงยุบตัวลงกลายเป็นหลุม รวมถึงเมื่อผิวหนังชั้นในเกิดพังผืด ก็จะยิ่งดึงรั้งให้ผิวด้านบนหดรัดตัว จนเกิดเป็นหลุมเป็นบ่อที่ทำให้ผิวดูขรุขระไม่เรียบเนียนนั่นเอง

หลุมสิวมีกี่ประเภท?

หลุมสิวตื้นมีลักษณะอย่างไร

หลุมสิวแบ่งตามลักษณะออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. หลุมสิว Ice pick scar หรือหลุมสิวแบบจิก เป็นหลุมชนิดที่ลึกและแคบ เนื่องจากการอักเสบของสิวที่รุนแรงได้มีการทำลายเนื้อเยื่อและคอลลาเจนไปจนถึงชั้นหนังแท้ ทำให้ผิวยุบตัวกลายเป็นหลุมลึกลงไป และโดยทั่วไปจะมีความกว้างไม่เกิน 2 มม. หลุมสิวประเภทนี้รักษายากและใช้เวลารักษานานที่สุด
  2. หลุมสิว Box scar หรือหลุมสิวแบบกล่อง จะมีลักษณะคล้ายบ่อหรือกล่องที่ค่อนข้างกว้าง มีขอบหลุมที่เห็นชัดเจน โดยอาจมีความลึกแตกต่างกันไป และมักมีพังผืดเกาะอยู่ที่ชั้นหนังแท้ หลุมสิวประเภทนี้มักเกิดจากสิวขนาดใหญ่ ตุ่มอีสุกอีใส และสิวที่กระจายตัวเป็นวงกว้าง
  3. หลุมสิว Rolling scar หรือหลุมสิวแบบแอ่ง เป็นหลุมที่ตื้นและเว้าลงไปคล้ายแอ่งกระทะ หรือคล้ายกับคลื่นที่มีขอบหลุมไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม หลุมสิวชนิดนี้เกิดจากการทำลายเนื้อเยื่อของผิวหนังชั้นบนเท่านั้น ทำให้มีความรุนแรงน้อยและรักษาได้ง่ายที่สุด

หลุมสิวตื้น มีลักษณะอย่างไร?

หลุมสิวตื้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นหลุมสิวประเภท rolling scar ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งหรือคลื่น มีปากหลุมกว้าง ซึ่งเกิดจากการที่ผิวหนังชั้นบนยุบตัวลงไปเล็กน้อย และมีบางส่วนที่เป็นหลุมสิวประเภท box scar ซึ่งมีขอบเขตหลุมชัดเจน และอาจมีพังผืดเกาะใต้ชั้นผิวได้บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้ว หลุมสิวตื้น จะเกิดจากความเสียหายของเนื้อเยื่อผิวชั้นบน ๆ เท่านั้น จึงทำให้รักษาได้ง่ายกว่าหลุมสิวลึก อย่างไรก็ตาม หลุมสิวตื้น มักจะเกิดเป็นวงกว้าง ทำให้ผิวหน้าดูขรุขระไม่เรียบเนียน การ รักษาหลุมสิว จึงอาจต้องใช้มากกว่า 1 วิธี รวมถึงอาจต้องทำการรักษารอยดำจากสิวควบคู่กันไปด้วย

วิธีรักษาหลุมสิวตื้น

วิธีรักษาหลุมสิว
  • การใช้สกินแคร์และยารักษาหลุมสิว: การใช้สกินแคร์และยาแบบทาเฉพาะจุด เป็นแนวทางเบื้องต้นในการรักษาหลุมสิวและผิวที่ขรุขระให้ดูเรียบเนียนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่นผลิตภัณฑ์ที่มีสารกลุ่มเรตินอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวและเนื้อเยื่อใหม่ ไปจนถึงสารกลุ่ม AHA และ BHA ที่ช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว ทำให้ผิวดูเรียบเนียนยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยป้องกันการเกิดสิวซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาหลุมสิวด้วย แม้การทายาและสกินแคร์จะเห็นผลลัพธ์ค่อนข้างช้า แต่ก็เป็นวิธีรักษาที่ได้ผลในระดับหนึ่งสำหรับหลุมสิวตื้น
  • การกรอผิว (Microdermabrasion): การกรอผิว หรือการทำ MD เป็นการใช้เกล็ดอัญมณีที่มีขนาดเล็กมาก ๆ มากรอผิวส่วนที่เป็นแผลเป็นและหลุมสิว เพื่อกระตุ้นให้ผิวผลัดและสร้างเซลล์ใหม่ เมื่อทำอย่างต่อเนื่องประมาณ 8-10 ครั้ง ก็จะช่วยให้รอยดำจากสิวดูจางลง และหลุมสิวประเภท box scar และ rolling scar ตื้นขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การทำ MD อาจทำให้เกิดผิวบาง แดง แสบ หรือระคายเคือง ในผู้ป่วยบางคนได้เช่นกัน
  • การตัดพังผืด: การตัดพังผืด หรือการทำ subcision เป็นวิธีการเลาะเอาพังผืดใต้ชั้นผิวออกโดยใช้เข็มขนาดเล็กจิ้มเข้าไปบริเวณหลุมสิว วิธีนี้เหมาะสำหรับหลุมสิวแบบ box scar ซึ่งเกิดจากการที่พังผืดดึงรั้งผิวด้านบนให้ยุบตัวลง โดยการตัดพังผืดออกจะช่วยให้หลุมสิวดูตื้นขึ้นและความชัดของขอบหลุมลดลงได้ อย่างไรก็ตาม การทำ subcision อย่างเดียวอาจเห็นผลค่อนข้างช้า เนื่องจากต้องทำต่อเนื่องกัน 3-5 ครั้ง โดยแต่ละครั้งห่างกัน 3-6 สัปดาห์ เพื่อให้ผิวมีเวลาสร้างคอลลาเจนเข้าไปเติมเต็มส่วนพังผืดที่ถูกตัดออก การทำร่วมกับการฉีดฟิลเลอร์หรือฉีดหลุมสิวจึงจะให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วกว่า
  • Radio frequency (RF) micro-needling: การทำ Microneedle RF เป็นการผสานรวมเทคโนโลยีคลื่นวิทยุ (RF) และ Microneedle เข้าด้วยกัน เพื่อการแก้ไขปัญหาผิวต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึง หลุมสิวตื้น และลึกด้วย หลักการของ Microneedle RF คือการปล่อยพลังงานคลื่นผ่านหัวเข็มที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ให้เข้าไปทำลายพังผืดใต้ชั้นผิว พร้อมกันนั้นพลังงาน RF ก็จะกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนและอีลาสติน ทำให้ผิวดูเรียบเนียน อิ่มฟู และหลุมสิวดูตื้นขึ้นได้นั่นเอง เทคนิคนี้จะต้องทำต่อเนื่อง 3-6 ครั้ง โดยหลังทำอาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น ผิวแดง ผิวระคายเคือง หรือรอยปื้นดำจากความร้อน เป็นต้น
  • เลเซอร์หลุมสิว: เป็นเทคนิคที่ใช้พลังงานจากลำแสงเลเซอร์เข้าไปกระตุ้นให้ผิวเกิดการสร้างคอลลาเจน มีการผลัดเซลล์ผิวเก่า และสร้างเซลล์ผิวใหม่ ซึ่งจะช่วยให้หลุมสิวทุกประเภทดูตื้นขึ้นได้ โดยเลเซอร์หลุมสิวมีด้วยกันหลายแบบ เช่น Fraxel, Picosecond และ e-Matrix ซึ่งแต่ละแบบก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป สำหรับการ รักษาหลุมสิว ด้วยเลเซอร์ จะต้องทำต่อเนื่องอย่างน้อย 4-6 ครั้ง จึงจะเห็นผลชัดเจน ทั้งนี้ วิธีการเลเซอร์เป็นการใช้ความร้อนกับผิวโดยตรง จึงมีโอกาสที่ผิวจะมีอาการแสบ แดง ลอก ระคายเคือง และไวต่อแสงหลังทำได้เช่นกัน
  • การฉีดฟิลเลอร์: การฉีดฟิลเลอร์แก้ไขหลุมสิว คือการฉีดกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) เข้าไปเติมเต็มบริเวณหลุมสิวให้ดูตื้นขึ้น ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาหลุมสิวแบบเร่งด่วน เพราะเราสามารถเห็นผลลัพธ์ได้ทันทีหลังทำ และในระยะยาว ฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไปก็จะช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ซึ่งทำให้ผิวอิ่มฟูดูเรียบเนียนขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม การฉีดฟิลเลอร์เหมาะกับการแก้ไขหลุมสิวตื้น ๆ ในบริเวณที่จำกัดเท่านั้น รวมถึงในกรณีที่มีหลุมสิวแบบ box scar ก็อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการตัดพังผืดไปพร้อมกับการฉีดฟิลเลอร์ด้วย
  • การฉีดรักษาหลุมสิว: นอกเหนือจากฟิลเลอร์แล้ว ยังมีเทคนิคการฉีดสารอื่น ๆ ที่ช่วยให้หลุมสิวดูตื้นขึ้น ยกตัวอย่างเช่นเมโสหลุมสิว ซึ่งเป็นการฉีดวิตามินและสารออกฤทธิ์นานาชนิดที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อผิวหนัง ไปจนถึงการฉีดสเต็มเซลล์และโกรทแฟคเตอร์เข้มข้น ที่นอกจากจะช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวและเพิ่มปริมาณคอลลาเจนและอีลาสตินแล้ว ยังช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่ผิว ลดโอกาสเกิดสิวและป้องกันปัญหาผิวอื่นๆ ซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาหลุมสิวอย่างตรงจุดทั้งที่ต้นเหตุและปลายเหตุ อีกทั้งยังเห็นผลลัพธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉีดด้วย

สรุป

หลุมสิวเกิดจากการอักเสบที่รุนแรงของสิว และการจัดการกับสิวที่ผิดวิธี ทำให้ผิวเกิดการยุบตัวกลายเป็นหลุมขรุขระบนใบหน้า แม้หลุมสิวจะเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก แต่ในปัจจุบันก็มีสารพัดวิธีรักษาหลุมสิวที่ให้ผลลัพธ์ค่อนข้างดี โดยเฉพาะกับหลุมสิวตื้นๆ ที่ความเสียหายไม่ลงไปถึงระดับผิวชั้นลึก ใครที่กำลังมองหาที่รักษาหลุมสิว ก็ควรเลือกคลินิกด้านผิวหนังที่ได้มาตรฐาน และมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดูแล เพราะเรื่องความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

บทความนี้เขียนโดย แพทย์หญิงธนิดา วรวิวัชร์ (หมอใบเฟิน) แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้ง Chuladoctor Clinic เแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย, การปรับรูปหน้าและเทคนิค SMAPS ขั้นสูง

สนใจปรึกษาฟรี
model

รับคำปรึกษาและรับ

สิทธิพิเศษ