โทร: 096-187-5888เพื่อรับสิทธิ รักษาฝ้าฟรี 1 ครั้ง

ฝ้าลึกคืออะไร? มีลักษณะอย่างไร? พร้อมเผยวิธีรักษาฝ้าลึกให้ได้ผล

Share

สารบัญ

ฝ้าลึกคืออะไร? มีลักษณะอย่างไร? พร้อมเผยวิธีรักษาฝ้าลึกให้ได้ผล

ฝ้า หรือ Melasma เป็นปัญหาผิวที่เกิดจากการสร้างเม็ดสีผิวที่ผิดปกติ ทำให้ปรากฏเป็นแถบปื้นคล้ำบนใบหน้า ซึ่งมักเป็นบริเวณโหนกแก้ม จมูก และเหนือริมฝีปาก โดยปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดฝ้านั้นมีหลายอย่าง เช่น การสัมผัสแสงแดด พันธุกรรม เพศ สีผิว อายุที่เพิ่มขึ้น ไปจนถึงความแปรปรวนของฮอร์โมนในร่างกาย

ฝ้าสามารถแบ่งได้เป็นชนิดต่างๆ ตามลักษณะและสาเหตุการเกิด เช่น ฝ้าตื้น (epidermal type) และ ฝ้าลึก (dermal type) ในบทความนี้ เราจะเน้นไปที่ข้อควรรู้ที่เกี่ยวข้องกับฝ้าลึก พร้อมแนะวิธีรักษาฝ้าลึกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพด้วย

ฝ้าลึก คืออะไร?

ฝ้า สามารถแบ่งแยกย่อยเป็นชนิดต่างๆ ได้ตามระดับความลึกของการเกิดเม็ดสีผิวผิดปกติ โดย ฝ้าตื้น (epidermal type) จะหมายถึงฝ้าที่เกิดบริเวณผิวหนังชั้นนอก ส่วน ฝ้าลึก (dermal type) คือฝ้าที่เกิดจากเม็ดสีผิดปกติในผิวหนังชั้นลึกลงไป ทั้งนี้ การรักษาฝ้าลึกจะทำได้ยากกว่าฝ้าตื้น เนื่องจากตำแหน่งการเกิดฝ้านั้นอยู่ลึกลงไปในชั้นหนังแท้ อย่างไรก็ตาม หลายคนมักเกิดฝ้าชนิดผสม คือมีทั้งฝ้าตื้นและฝ้าลึกปะปนกันบนใบหน้า ทำให้ต้องใช้เทคนิคการรักษามากกว่าหนึ่งวิธีร่วมกัน

ฝ้าลึก มีลักษณะอย่างไร?

ฝ้าลึก (dermal type) มีลักษณะที่สำคัญซึ่งเราสามารถสังเกตได้ ดังต่อไปนี้

  • ตำแหน่งของฝ้า มักเกิดบริเวณแก้ม หน้าผาก หรือขมับ โดยปรากฏเป็นปื้นสีน้ำตาลอ่อน สีเทา หรือสีฟ้าจางๆ ฝ้าลึกมักดูกลืนกับผิวหน้าเห็นเป็นบริเวณกว้าง และมีขอบเขตที่ไม่ชัดเจน
  • ฝ้าลึกเกิดจากเม็ดสีผิดปกติที่อยู่ในผิวหนังชั้นลึก ซึ่งบางครั้งอาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการอักเสบใต้ผิวหนังด้วย
  • การรักษาฝ้าลึกนั้นทำได้ยากกว่าฝ้าตื้น และในบางกรณีก็อาจไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบทั่วไป เนื่องจากเม็ดสีที่ผิดปกตินั้นอยู่ในระดับที่ลึกลงไป ทำให้วิธีรักษาฝ้าลึกต้องใช้ระยะเวลามากกว่า

วิธีรักษาฝ้าลึก ทำได้อย่างไรบ้าง?

แม้ฝ้าลึกจะมีกระบวนการรักษาที่ค่อนข้างยากและซับซ้อน แต่เราก็สามารถหาวิธีรับมือเพื่อป้องกันฝ้าใหม่ พร้อมทั้งลดเลือนฝ้าเก่าให้ค่อยๆ จางลงได้ ซึ่งวิธีที่ใช้ได้ผล ได้แก่

การปกป้องผิวจากรังสี UV

รังสี UV ในแสงแดดถือเป็นปัจจัยสำคัญมากที่กระตุ้นให้เกิดฝ้าแทบทุกชนิด ดังนั้น หากต้องการจัดการกับปัญหาฝ้า จึงต้องเริ่มจากการหลีกเลี่ยงการสัมผัสรังสี UV และปกป้องผิวจากแสงแดด โดยการทาผลิตภัณฑ์กันแดดแบบ Broad spectrum ที่สามารถป้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB รวมถึงมีค่า SPF ที่มากเพียงพอ นอกเหนือจากนี้ การใช้อุปกรณ์กันแดดอย่างหมวก ร่ม เสื้อคลุม และแว่นตากันแดด ก็เป็นวิธีปกป้องผิวในชีวิตประจำวันที่เราควรทำให้คุ้นชินเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการเกิดฝ้าใหม่ที่จะทำให้ปัญหาฝ้ายิ่งยากต่อการแก้ไขยิ่งขึ้น

การใช้ครีมหรือยาทาเฉพาะที่

การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหรือยาทาเฉพาะที่เป็นอีกวิธีที่ค่อนข้างได้ผลในการรักษาฝ้าตื้นๆ แต่สำหรับฝ้าลึกแล้ว วิธีนี้อาจใช้เวลานานและเห็นผลลัพธ์ในระดับหนึ่งเท่านั้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีฤทธิ์ในการรักษาฝ้า ได้แก่ 

  • ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวิตามิน ซี ที่เป็นหนึ่งในสารกลุ่ม whitening ซึ่งช่วยในการลดเลือนฝ้าและจุดด่างดำ
  • สารจำพวก Azelaic acid และ Kojic acid ซึ่งช่วยลดเม็ดสีผิดปกติและทำให้ฝ้าบนใบหน้าจางลงได้ รวมถึงไม่ค่อยระคายเคืองต่อผิวมากนัก
  • สารกลุ่ม retinoids หรืออนุพันธ์ของวิตามิน เอ เช่น ยา Tretinoin ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวและขจัดเซลล์ที่มีเม็ดสีผิดปกติออกไป ทำให้ฝ้าดูจางลงเมื่อใช้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตัวยาในกลุ่มนี้จำเป็นต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น อีกทั้งยังเป็นสารที่ห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์ด้วย

การเลเซอร์รักษาฝ้า

เทคนิคการทำเลเซอร์บางชนิด นับเป็นวิธีรักษาฝ้าลึกที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ เช่น เทคนิค Fractional laser และ Non-Ablative laser ซึ่งสามารถกำหนดเป้าหมายไปที่เม็ดสีผิวที่อยู่ในชั้นลึกลงไปได้ โดยไม่เป็นการทำร้ายผิวบริเวณข้างเคียงและไม่ทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังที่อยู่ชั้นนอก จึงช่วยให้ฝ้าลึกดูจางลงได้อย่างตรงจุด อย่างไรก็ตาม การทำเลเซอร์ลดฝ้าจำเป็นต้องทำซ้ำอย่างน้อย 4-5 ครั้งขึ้นไปจึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจน โดยเฉพาะกับฝ้าลึกซึ่งเดิมทีต้องใช้เวลารักษานานอยู่แล้ว อีกทั้งการทำเลเซอร์บ่อยครั้งมีโอกาสทำให้ผิวมีอาการแสบ แดง และระคายเคืองหลังทำได้เช่นกัน ซึ่งอาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กลับมาเป็นฝ้าซ้ำได้อีกด้วย

การทำ Microneedling

Microneedling เป็นเทคนิคที่ใช้เข็มขนาดเล็กมากๆ แทงเข้าไปบนผิวเพื่อให้เกิดบาดแผลเล็กๆ บนผิวหนัง ซึ่งบาดแผลดังกล่าวจะกระตุ้นให้ผิวเกิดกระบวนการฟื้นฟูตัวเอง ทำให้มีการสร้างคอลลาเจน อีลาสติน และการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้จึงช่วยให้ผิวมีความเรียบเนียน อิ่มฟู รวมถึงฝ้าและจุดด่างดำดูจางลง 

การทำ Microneedling อาจมีการผสานเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาด้วย เช่น เทคนิค Fractional RF Microneedling ซึ่งเป็นการใช้เข็มที่ปล่อยพลังงานคลื่นวิทยุเข้าสู่ผิว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้ฝ้าลึกที่อยู่ในชั้นหนังแท้ดูจางลงได้ ทั้งนี้ การรักษาฝ้าด้วยเทคนิค Microneedling อาจจำเป็นต้องทำซ้ำหลายครั้งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี รวมถึงการทำแต่ละครั้งก็อาจทำให้ผิวหน้าเกิดอาการบวม แดง ช้ำ ได้เช่นกัน

การฉีดสลายฝ้า

การฉีดสลายฝ้า เป็นการฉีดสารบำรุงผิวชนิดต่างๆ เข้าสู่ผิวหนังบริเวณที่เกิดฝ้า เช่น วิตามิน กรดอะมิโน อัลฟา-อาร์บูติน หรือสเต็มเซลล์และโกรทแฟคเตอร์บริสุทธิ์เข้มข้น ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยในการลดการสร้างเม็ดสีผิว กระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ และทำให้ฝ้าแลดูจางลงได้ตั้งแต่ครั้งแรก การฉีดสารจำพวกโกรทแฟคเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง นอกจากจะเป็นวิธีรักษาฝ้าลึกที่ค่อนข้างเห็นผลเร็วแล้ว ยังเป็นเทคนิคที่ช่วยให้สุขภาพผิวโดยรวมแข็งแรงขึ้น ช่วยป้องกันปัญหาผิวต่างๆ รวมถึงช่วยลดการเกิดฝ้าใหม่อีกด้วย

การรักษาด้วยหลายเทคนิคร่วมกัน

การรักษาปัญหาผิวอย่างฝ้าเป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างซับซ้อน โดยเฉพาะในคนที่มีฝ้าเป็นบริเวณกว้าง และมีทั้งฝ้าลึกกับฝ้าตื้นผสมกัน ในบางครั้งจึงอาจจำเป็นต้องรักษาด้วยหลายเทคนิคร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่น การทาผลิตภัณฑ์หรือยาเฉพาะที่ ควบคู่ไปกับการทำหัตถการทางการแพทย์ อย่างการทำเลเซอร์, Fractional RF Microneedling หรือการฉีดลดฝ้าด้วยสเต็มเซลล์และโกรทแฟคเตอร์ เป็นต้น

ฝ้าลึกถือเป็นปัญหาที่จัดการได้ยาก และต้องอาศัยความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรักษาจึงจะเห็นผลลัพธ์ที่ดี นอกจากนี้ การระมัดระวังปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเกิดฝ้า อย่างเช่นแสงแดดและมลภาวะ ก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลยได้เช่นกัน สำหรับใครที่กำลังมีปัญหาฝ้าลึกกวนใจและไม่รู้จะรับมือด้วยวิธีไหน ก็สามารถปรึกษาแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำและเลือกวิธีรักษาฝ้าลึกที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และตรงกับสภาพปัญหาผิวของเราโดยเฉพาะได้

บทความนี้เขียนโดย คุณหมอใบเฟิร์น หัวหน้าทีมแพทย์ Chuladoctor  แพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แพทย์ผู้มีประสบการณ์และความเข้าใจด้านการฟื้นฟูผิวหน้า และ ฟื้นฟูสุขภาพจากภายใน

สนใจปรึกษาฟรี
model

รับคำปรึกษาและรับ

สิทธิพิเศษ