เจาะลึกเรื่อง “ฝ้าบนใบหน้า” วายร้ายทำลายความมั่นใจ เกิดจากอะไรได้บ้าง?
หนึ่งในปัญหาผิวที่สร้างความกังวลใจอย่างมากให้กับสาว ๆ โดยเฉพาะสาววัย 40+ คือ “ฝ้า” วายร้ายที่ถูกสะสมและโผล่ขึ้นมาทักทายโดยไม่รู้ตัว
ไม่ว่าจะเป็น ฝ้าบนใบหน้า หรือ ฝ้าตรงโหนกแก้ม ที่มองเห็นชัดจนทำลายความมั่นใจ ทำให้ต้องเสียเวลาคอยกลบเกลื่อนด้วยเครื่องสำอาง นึกอยากจะแต่งหน้าบาง ๆ โชว์งานผิวก็ทำได้ไม่เต็มที่ แล้ว “ฝ้า” ตัวดีนั้นเกิดจากปัจจัยอะไรบ้าง และ สาว ๆ ควรจะมีวิธีรับมือหรือป้องกันในเบื้องต้นอย่างไรเพื่อให้ผิวหน้าของคุณยังคงสดใสไร้ “ฝ้า” มาเยือน
ฝ้าบนใบหน้า คืออะไร? มาจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
ฝ้าบนใบหน้า หรือ Melasma แม้จะเป็นปัญหาผิวที่ไม่ใช่โรคร้ายแรงต่อสุขภาพร่างกาย แต่ในขณะเดียวกันนั้นกลับส่งผลกระทบทางด้านจิตใจในด้านของบุคลิกภาพและความมั่นใจ ซึ่ง ฝ้าบนใบหน้า มีลักษณะเป็นปื้นบนผิวหน้า สีเข้มกว่าสีผิว อาจมีหลายเฉดความเข้มตั้งแต่สีออกน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้ม ไปจนถึงสีดำ ทำให้ผิวหน้าบริเวณที่เกิดฝ้าไม่เรียบเนียน แลดูไม่กระจ่างใส มองแล้วเห็นเป็นปื้น ๆ กลายเป็นจุดบกพร่องบนใบหน้า
ในส่วนของขนาด ฝ้าบนใบหน้า มีหลายขนาดตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ หากละเลยไม่ดูแลหรือเร่งหาวิธีการรักษา ฝ้าบนใบหน้า จะค่อย ๆ มากขึ้น และอาจฝังลึกลงไปในชั้นผิวหนังจนยากแก่การแก้ไขได้ ซึ่งถึงแม้ว่าสามารถใช้เครื่องสำอางบางชนิดมาช่วยกลบเกลื่อนหรือทำให้สีผิวมีความสม่ำเสมอ แต่เครื่องสำอางอาจหลุดลอกหรือสีดรอปลงระหว่างวัน ก็ทำให้มองเห็น ฝ้าได้อย่างชัดเจนอยู่ดีนั่นเอง
แล้วการเกิดฝ้าสามารถเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง? ตามหลักการแล้ว “ฝ้า” เกิดจากการที่เมลานิน คือ เม็ดสีที่เกิดจากเมลาโนไซด์ (Melanocyte) ที่เป็นเซลล์ผิวหนัง มีสีน้ำตาลแดงไปจนถึงดำ เป็นสารที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง มีจำนวนมากเกินไป ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีรอยปื้นสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำ (Hyperpigmentation) และจะมีปริมาณมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจมีลักษณะเป็นปื้นหรือเข้มเป็นกระจุก มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมักพบในช่วงวัยกลางคนอายุประมาณ 30-40 ปี
ฝ้าบนใบหน้า มีกี่ชนิด แต่ละชนิดสังเกตอย่างไร?
ฝ้าบนใบหน้า มีหลายชนิด โดยสามารถแบ่งชนิดของฝ้าตามสาเหตุ ปัจจัยและลักษณะของการเกิดฝ้า ได้แก่ ฝ้าเลือด ฝ้าแดด ฝ้าลึก ฝ้าตื้น ฝ้าลึก ฝ้าผสม มีรายละเอียดของฝ้าแต่ละชนิดดังต่อไปนี้
- ฝ้าเลือด (Vascular Melasma หรือ Telangiectatic Melasma) เป็นฝ้าเกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนผิวหน้า ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ อาทิ เช่น การโดนความร้อนจัด และการเข้าห้องซาวน์หน้าสตรีม แช่บ่อน้ำร้อน หรือความร้อนจากการประกอบอาหาร เช่น ต้มผัดแกงทอด ปิ้งย่างชาบู หมูกะทะ รวมทั้งการใช้ skincare ที่มีส่วนผสมของ Whitening agent หรือ Peeling agent ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น สเตียรอยด์ (Steroids), ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) , โคจิ แอสซิสต์ (Kojic Acid) , อซิทิค แอสซิสต์ (Acetic Assist), เรตินอย (Retinol) เป็นต้น
- ฝ้าแดด ฝ้าที่เกิดจากแสงแดดหรือรังสี UV ที่เป็นอันตรายต่อผิว ซึ่งการปล่อยให้ผิวหน้าโดนแสงแดดโดยตรงและต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้รับการป้องกัน ก็จะทำให้เกิดฝ้าแดดได้ง่าย เพราะแสงแดดมีรังสี UVA และ UVB ที่ส่งตรงมายังผิวหน้า โดยเฉพาะรังสี UVA ที่มีความยาวคลื่นมากกว่าจะส่งผลไปถึงชั้นผิวที่ลึกกว่าทำให้เกิดฝ้าแดดได้ง่ายกว่านั่นเอง
- ฝ้าฮอร์โมน การเกิดฝ้าชนิดนี้มักจะเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายไปกระตุ้นการสร้างเม็ดสีให้เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้ฝ้าบริเวณนั้น ๆ เข้มขึ้นได้
- ฝ้าพันธุกรรม คือ ฝ้าที่มีลักษณะเดียวกันกับฝ้าที่พบในพ่อแม่หรือบุคคลในครอบครัว ซึ่งฝ้าชนิดนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็นฝ้าที่สืบทอดส่งต่อกันแบบรุ่นสู่รุ่นนั่นเอง
- ฝ้าสเตียรอยด์ คือ ฝ้าที่เกิดจากผิวหน้าที่ติดสารสเตียรอยด์ เนื่องจากสารสเตียรอยด์ มีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างเซลล์เม็ดสีผิว ซึ่งการใช้สารสเตียรอยด์ที่มีความเข้มข้นสูงติดต่อกันไปเป็นเวลานาน ในช่วงแรกผิวอาจจะยังไม่มีปัญหา แต่ไม่นานจะทำให้ผิวหน้าเริ่มบางลง ผิวซีด เป็นด่างขาว และเกิดฝ้าเป็นปื้นสีดำหนาแบบถาวร
- ฝ้าหลังคลอด นอกจากฝ้าฮอร์โมนที่มักพบบ่อยในช่วงกำลังตั้งครรภ์แล้ว ยังสามารถพบฝ้าหลังคลอดได้เช่นกัน ซึ่งมักจะเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้เกิดการสร้างเม็ดสีเมลานินส่วนเกินเพิ่มขึ้นมา ส่งผลให้สีผิวไม่สม่ำเสมอจนกลายเป็น ฝ้าบนใบหน้า
- ฝ้าจากความร้อน อีกปัจจัยที่อาจทำให้เกิดฝ้าได้ ไม่ว่าจะเป็นการสัมผัสกับไอร้อน ๆ จากเตาเวลาทำอาหารต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือรังสีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เนื่องจากความร้อนจะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระที่ทำร้ายเซลล์ผิว รวมถึงกระตุ้นให้เม็ดสีเมลานินทำงานเพิ่มขึ้น ยิ่งปล่อยให้ใบหน้าเจอกับความร้อนสะสมเป็นเวลานาน ๆ โอกาสจะเกิดฝ้าก็สูงขึ้นและทำให้รอยฝ้าเด่นชัดขึ้นตามไปด้วย
- ฝ้าจากความเครียด เมื่อไรก็ตามที่ร่างกายเกิดภาวะเครียดก็จะหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา และอาจส่งผลทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายเสียสมดุล ไปจนถึงกระตุ้นการผลิตเม็ดสีเมลานินเพิ่มมากขึ้นจนสะสมและเกิดเป็นปัญหาฝ้า อาจสังเกตได้ว่าช่วงไหนที่เครียดมาก ๆ หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ สีผิวจะเข้มขึ้น ในขณะที่ฝ้าเก่าสีจะยิ่งเข้มและชัดเจนขึ้นเช่นกัน
- ฝ้าไม่ทราบสาเหตุ เป็นฝ้าที่เกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีในร่างกายที่ไม่สามารถสืบหาสาเหตุที่ชัดเจน
ชนิดที่ 2 ของฝ้าบนใบหน้าที่ถูกแบ่งตามตำแหน่งการเกิดฝ้า หรือแบ่งตามระดับความลึกของตำแหน่งเม็ดสีที่ทำให้เกิดฝ้า แบ่งได้ดังต่อไปนี้
- ฝ้าตื้น (Epidermal type) เป็น ฝ้าที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย เกิดขึ้นในผิวหนังระดับชั้นหนังกำพร้า มีสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาดำ สามารถมองเห็นขอบเขตของการเกิดฝ้าได้ชัดเจน และรักษาได้ง่าย เพราะสามารถกระตุ้นให้เกิดการผลัดเซลล์ผิวและหลุดออกไปง่าย
- ฝ้าลึก (Dermal type) โดยมักจะเกิดขึ้นบริเวณชั้นผิวหนังแท้ใต้หนังกำพร้า อาจจะมีสีน้ำตาลอ่อน สีเทา สีเทาอมฟ้า หรือสีน้ำตาลอมม่วงออกไปทางคล้ำ มีขอบเขตของฝ้าไม่ชัดเจนเนื่องจากอยู่ลึกลงไปในชั้นผิวหนัง อีกทั้งฝ้าลึกยังรักษาให้หายได้ยากกว่าฝ้าตื้น
- ฝ้าผสม (Mixed type) เป็นการผสมของฝ้าตื้นและฝ้าลึกในบริเวณเดียวกัน ลักษณะจะเป็นสีเข้ม แต่ขอบจาง ต้องรักษาด้วยวิธีหลายแบบรวมกัน เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดในกลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องฝ้า
สิ่งที่น่าสังเกตอีกอย่างก็คือแล้วบริเวณหรือตำแหน่งใดบ้างบนใบหน้าคนเราที่มักจะเกิดฝ้าบนใบหน้า มักจะเป็นบริเวณที่มีโอกาสสัมผัสกับแสงแดด ได้แก่ ฝ้าตรงโหนกแก้ม หน้าผาก จมูก ขมับ เหนือริมฝีปาก นอกจากนี้ในบางคนยังอาจพบฝ้าขึ้นบนลำตัวรวมถึงบริเวณแขนที่มักโดนแสงแดดเป็นเวลานาน ๆ อีกด้วย
ฝ้าบนใบหน้า ดูแลป้องกันอย่างไร? พร้อมแนวทางวิธีรักษาฝ้า
ถ้าหากเราไม่อยากให้เกิด ฝ้าบนในหน้า มากวนใจ ทำให้ต้องเสียเวลาในการปกปิด หรือทำลายความมั่นใจ แนะนำว่าควรจะหมั่นดูแลผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ ส่วนจะมีเทคนิคดี ๆ อย่างไรบ้างไปดูกัน…
- หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดโดยตรง โดยเฉพาะแสงแดดในช่วงเวลา 10 โมงเช้า ถึง 4 โมงเย็น หรือหากจำเป็นต้องออกไปข้างนอกให้การทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF ที่เหมาะสม โดยมีค่า SPF 50+ ขึ้นไป ควรเลือกครีมกันแดดที่ป้องกันได้ทั้ง UVA และ UVB ปริมาณครีมกันแดดที่เหมาะสมในการทาแต่ละครั้ง คือ บีบครีมให้ยาวประมาณ 2 ข้อนิ้วมือทาให้ทั่วทั้งใบหน้าและบริเวณลำคอรวมถึงหลังใบหู หากเป็นกันแดดชนิดน้ำหรือโลชั่นควรบีบขนาดประมาณ 1-2 เหรียญ 10 บาท และควรทาครีมกันแดดช้ำทุก 2 ชั่วโมงเมื่อต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน และควรพกอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันแสงแดดด้วยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นร่ม หมวก หรือเสื้อคลุม เป็นต้น เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ช่วยให้ผิวไม่โดนแสงแดดโดยตรงนั่นเอง
- บำรุงผิวหน้าอย่างสม่ำเสมอ อาจดูแลด้วยการใช้ครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของกรดผลไม้หรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ช่วยลดเลือนฝ้า ซึ่งมักจะมีสารสกัดที่ช่วยลดเม็ดสีเมลานิน ปรับผิวให้ดูกระจ่างใส หรือการเติมวิตามินผิว หรือทำทรีทเม้นท์บำรุงผิว เพื่อการบำรุงด้วยสารอาหารผิว ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นและความแข็งแรงให้ผิวอย่างเร่งด่วน
- หลีกเลี่ยงยาที่เป็นต้นเหตุให้เกิดฝ้า หรือยาเพิ่มฮอร์โมนอื่น ๆ เช่น ยาคุมกำเนิด อาจจะต้องเปลี่ยนการคุมกำเนิดโดยต้องปรึกษาแพทย์ก่อน รวมถึงการใช้เครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ไม่ได้มาตฐาน เพราะอาจมีสารที่ทำให้เกิดฝ้าได้ โดยเฉพาะครีมหน้าขาว
“ฝ้า” เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในทันที แต่สามารถรักษาให้ฝ้านั้นจางลงได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีหลากหลายแนวทางในการรักษา ขึ้นอยู่กับชนิดของฝ้าและสภาพผิวของแต่ละคนด้วย ไม่ว่าจะเป็น การใช้ครีมบำรุงผิวที่มีสารช่วยในการรักษาฝ้า, การทายารักษาฝ้าโดยเฉพาะ วิธีเหล่านี้ใช้ได้ผลดีกับฝ้าตื้นมากกว่าฝ้าลึกและควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ผิวหนังจะปลอดภัยกว่าซื้อยามาทาเองโดยไม่มีความรู้
รวมไปถึงแนวทางการรักษาทางการแพทย์ ได้แก่ การทำเลเซอร์ การลอกหรือผลัดเซลล์ผิวด้วยสารเคมี หรือ Chemical peeling ซึ่งเป็นการใช้สารเคมีขัดผิวเพื่อกำจัดเม็ดสีในชั้นผิวออกไป รวมไปถึงการใช้ เทคนิค SMAPS รักษารอยฝ้า กระ บนใบหน้า ซึ่งวิธีการเหล่านี้แนะนำว่าจะต้องได้รับการควบคุมและดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย ให้ใบหน้ากลับมากระจ่างใส เรียกความมั่นใจกลับคืนมาแบบไม่สร้างปัญหาให้ผิวเพิ่มเติม
สรุป
เรื่องของ ฝ้าบนในหน้า นั้น เป็นปัญหาผิวที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน ดังนั้นจึงควรเริ่มต้นหาวิธีป้องกันเอาไว้ก่อนเพื่อลดโอกาสการเกิดฝ้าหรือชะลอการเกิดฝ้าให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฝ้าทั่วไปจากการโดนแสงแดดสะสม หรือปัญหา ฝ้าฮอร์โมน จากการตั้งครรภ์ก็ตาม อย่าปล่อยให้เกิดหรือทิ้งเอาไว้นานจนยากแก่การแก้ไข หรือถ้าต้องรักษาก็อาจจะต้องใช้ระยะเวลานานและมีความสม่ำเสมอในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
บทความนี้เขียนโดย แพทย์หญิงธนิดา วรวิวัชร์ (หมอใบเฟิน) แพทย์ศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ก่อตั้ง Chuladoctor Clinic เแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย, การปรับรูปหน้าและเทคนิค SMAPS ขั้นสูง